Thursday, August 20, 2009

สถานการณ์ของเด็กและเยาวชนไทย 2009

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้นำเสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,511 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10—17 กุมภาพันธ์ 2552 พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.8 พบเห็นภาพการใช้อาวุธ เช่น อาวุธปืน มีด ทำร้ายกันบ่อยๆ รองลงมา คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.5 พบเห็นภาพการต่อสู้ทำร้ายร่างกายกันบ่อยๆ ร้อยละ 51.4 พบเห็นภาพของสงครามและการฆาตกรรม บ่อยๆ ร้อยละ 49.3 พบเห็นภาพการคุกคามทางเพศ บ่อยๆ ร้อยละ 46.5 พบเห็นพฤติกรรมการพูดจาหยาบคาย ด่าทอ โต้เถียงกัน บ่อยๆ และร้อยละ 39.3 พบเห็น ภาพการทะเลาะวิวาทของคนในครอบครัว บ่อยๆ เป็นต้น
โดยมีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน อย่างชัดเจน คือ เด็กและเยาวชนที่ใช้สารเสพติดประเภทต่างๆ ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึงประมาณ 20 เท่า หรือ 19.75 เท่ามากกว่า เด็กและเยาวชนที่ไม่ใช้สารเสพติด เด็กและเยาวชนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 9.34 เท่ามากกว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่เด็กและเยาวชนที่ติดเกมออนไลน์ เกมคอมพิวเตอร์ประเภทเกมต่อสู้มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 3.43 เท่ามากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่ติดเกมออนไลน์ โดยที่เด็กและเยาวชนที่พบเห็นภาพการใช้อาวุธทำร้ายกันผ่านรายการโทรทัศน์บ่อยๆ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 2.26 เท่า มากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่พบเห็นภาพการใช้อาวุธทำร้ายกันในรายการโทรทัศน์ เด็กและเยาวชนที่พบเห็นการทำผิดกฎหมายของคนในชุมชนที่พักอาศัยมีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 1.70 เท่ามากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่พบเห็นการทำผิดกฎหมายของคนในชุมชน เด็กและเยาวชนที่พบเห็นภาพการคุกคามทางเพศผ่านรายการโทรทัศน์มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 1.54 เท่ามากกว่าเด็ก และเยาวชนที่ไม่พบเห็นภาพดังกล่าวในรายการโทรทัศน์ และเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาครอบครัวมีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 1.31 เท่ามากกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาครอบครัว (ที่มา: http://www.ryt9.com/s/abcp/524293/)
อาสาสมัครเฝ้าระวังทางสังคม

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment