Wednesday, September 23, 2009

สภาเด็กและเยาวชน 2552 ตอน 1

สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดและอำเภอ ปี 2552 จากรายงานผลการติดตามประเมินสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดอำเภอ ปี 2552 (สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2552) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2,589 คน ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดจำนวน 75 จังหวัด ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย รวม 935 คน (2) คณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ 150 อำเภอ ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้แก่ อำเภอที่เป็นเขตเมือง 75 อำเภอ รวม 775 คน และอำเภอที่ไม่ใช่เขตเมือง 75 อำเภอ รวม 804 คน รวมทั้งสิ้น 1,579 คน และ (3) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสภาเด็กและเยาวชน 75 คน
ใช้วิธีการในการติดตามและประเมิน 3 วิธีการ คือ (1) การประชุมกลุ่มของคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ (อำเภอที่เป็นเขตเมือง 75 ครั้ง และอำเภอที่ไม่ใช่เขตเมือง 75 ครั้ง) ( 2) การประชุมกลุ่มของคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด 75 ครั้ง และ (3) การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสภาเด็กและเยาวชนในจังหวัด 75 ครั้ง
นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการจำแนกประเภท ตามกระบวนการติดตามและประเมินในรูปแบบ CIPP คือ (1) การติดตามและประเมินสภาวะแวดล้อม (2) การติดตามและประเมินปัจจัยนำเข้า (3) การติดตามและประเมินกระบวนการ และ (4) การติดตามและประเมินผลผลิต โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
การติดตามและประเมินสภาวะแวดล้อม ประกอบด้วยด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนอำเภอและจังหวัด การประสานงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านเด็กและเยาวชน พบว่า
ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนอำเภอและจังหวัด ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด คือ
1. วิธีการในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สภาเด็กและเยาวชน เรียงตามลำดับ คือ (1) การชี้แจงผ่านเวทีการประชุม/อบรม/สัมมนา (2) การใช้หนังสือราชการ (3) การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี และวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น และ (4) แผ่นพับ/แผ่นปลิว
2. วิธีการที่ใช้ในการให้ความรู้เกี่ยวกับสภาเด็กและเยาวชนแก่หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสภาเด็กและเยาวชน เรียงตามลำดับ คือ 1) การชี้แจงผ่านเวทีการประชุม/อบรม/สัมมนา 2) การใช้หนังสือราชการ 3) แผ่นพับ/แผ่นปลิว 4) การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี และวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
3. การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาเด็กและเยาวชนแก่หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสภาเด็กและเยาวชน เรียงตามลำดับ คือ 1) หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ., อบต., เทศบาล) 2) หน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. 3) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 4) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 5) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 6) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน และ 7) องค์กรภาคเอกชน
ด้านการประสานงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านเด็กและเยาวชน
1) สำนักงาน พมจ. ประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับท้องถิ่น ร้อยละ 88.00 โดย 1) จัดเวทีประชาคมระดมความคิดเห็นของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาสังคมประเด็นเด็กและเยาวชน และ 2) จัดเวทีประชุมเพื่อบูรณาการแผนงาน/โครงการการพัฒนาสังคม โดยให้ อบต.เข้าร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ ในจังหวัด
2) สำนักงาน พมจ. จัดทำแนวทางการร่วมมือ ส่งเสริม และประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับท้องถิ่น ร้อยละ 64.00 โดย ประสานอำเภอเพื่อจัดเวทีประชาคม จัดทำแผนด้านเด็กและเยาวชนในทุกอำเภอ และ จัดประชุมชี้แจงและสนับสนุนเอกสารแผ่นพับที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมด้านเด็กและเยาวชน โดยเปิดโอกาสให้ อปท.มีส่วนร่วมในการสนับสนุน
3) สำนักงาน พมจ. จัดทำแนวทางการร่วมมือ ส่งเสริม และประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ร้อยละ 61.33 โดย จัดโครงการนำร่องและส่งเสริมให้ อปท.ต่อยอดกิจกรรมในปีต่อไป โดยการบรรจุงานด้านเด็กและเยาวชนลงในแผนปฏิบัติการของ อปท. และ ผ่านโครงการคาราวานเสริมสร้างเด็ก โดยให้ทุกภาคส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment