Thursday, November 12, 2009

สถานการณ์กลุ่มหญิง-ชายที่ทำงานบริการทางเพศ 51 ตอน 1






รายงานสถานการณ์ผู้ด้อยโอกาสและข้อเสนอในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้ด้อยโอกาส โดยสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รายงานสถานการกลุ่มหญิง-ชายที่ทำงานบริการทางเพศ

กลุ่มผู้ทำงานให้บริการทางเพศ ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายในฐานะเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาและถูกสังคมมองด้วยสายตาตำหนิ เหยียดหยาม ส่งผลให้กลุ่มประชากรกลุ่มนี้กลายเป็นกลุ่มที่ปิดกั้นตนเอง และแยกการดำรงชีวิตประจำวันออกจากสังคม ผลการศึกษา ระบุว่า ธุรกิจการให้บริการทางเพส ในปัจจุบันมีการขยายขอบเขตทั้งปริมาณ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องออกไปในทุกกลุ่มของสังคม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนชั้นสูง กลาง หรือต่ำ
สถานการณ์การขยายตัวของธุรกิจบริการทางเพศในปัจจุบัน ผลการศึกษา ระบุว่า หลังวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 พบว่า มีผู้เข้าสู่วงจรธุรกิจบริการทางเพศเพิ่มขึ้น ทั้งเพศชาย และหญิง ด้วยปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ และพัฒนาไปสู่ขั้น แม่เล้าจิ๋ว ของเด็กนักเรียนที่กลายมาเป็นผู้จัดหาเพื่อนด้วยกันเอง ให้กับผู้ซื้อบริการทางเพศ อันเป็นปรากฏการณ์ของความสมัครใจในการเข้าสู่วงจนธุรกิจนี้ด้วยตนเอง
ผลการศึกษา ได้ระบุผลการสำรวจจำนวนสถานบริการทางเพศ และผู้ให้บริการทางเพศ ปี พ.ศ. 2545 ของกระทรวงสาธารณสุข ระบุผลจำนวนสถานบริการทางเพศ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่างจังหวัด ระหว่างวันที่ 1-31 มกราคม 2545 พบว่า มีจำนวนสถานบริการทั้งหมด 12,090 แห่ง มีจำนวนพนักงานในสถานบริการทั้งหมด 136,299 คน จำแนกเป็นพนักงานชาย 21,459 คน พนักงานหญิง 114,840 คน โดยมีจำนวนผู้ให้บริการทางเพศ จำนวน 68,974 คน จำแนกเป็น ผู้ให้บริการชาย 3,788 คน ผู้ให้บริการหญิง 65,186 คน (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2551)
พัฒนาการขายบริการผ่านสื่อสมัยใหม่ จากแนวโน้มสังคมยุคการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นผลให้ธุรกิจบริหารทางเพศขยายตัวผ่านช่องทางไอเทคมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร และยากที่จะติดตามแหล่งของธุรกิจ ซึ่งบางครั้งจะเป็นการกระทำโดยลำพังผู้ขายบริการด้วยตนเอง โดยไม่มีนายหน้าธุรกิจจัดหาให้
โดยในรายงานระบุถึงสถานการณื์กลุ่มชายขายบริการว่า หลังปี พ.ศ. 2540 มีกลุ่มชายเข้ามาในธุรกิจขายบริการทางเพศมากขึ้น ในพื้นที่เมืองพัทยา และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีปัจจัยปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับปัจจัยด้านบริโภคนิยมที่ต้องการเงินจำนวนมากมาใช้จ่ายสำหรับแสวงหาความสุขจากการบริโภคให้ตนเอง และปัจจัยที่เป็นตัวเร่งการเข้าสู่ธุรกิจนี้มากขึ้น คือ การให้การยอมรับว่าอาชีพขายบริการทางเพศเป็นอาชีพที่สามารถทำเงินได้อย่างรวดเร็ว เป็นอาชีพอิสระ และรายได้ดี เพียงพอกับการบริโภคในสังคมบริโภคนิยม
ผลการศึกษา ระบุว่า พฤติกรรมของชายขายบริการได้จัดแบ่งประเภทผู้ชายขายบริการทางเพศ ออกเป็น 3 ประเภท ตามพื้นที่ขายบริการ ประกอบด้วย
1. กลุ่มผู้ชายขายบริการข้างถนน หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า "ผู้ชายป้ายเหลือง" จะใช้พ้นที่สาธารณะที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของการขายบริการ เช่น ผู้ที่เป็นฝ่ายรุก จะกล้ายืนในพื้นที่แสงสว่าง โดยไม่สนใจว่าผู้อื่นจะมองว่าเป็นอย่างไร อีกส่วนหนึ่งที่เป็นได้ทั้งฝ่ายรุกและรับ มักจะยืนแบบซ่อน ๆ อยู่บ้าง สำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายรับอย่างเดียวจะยืนในที่มืดที่สุด เพราะเป็นฝ่ายถูกกระทำ และถูกมองว่าเป็นพวกผิดธรรมชาติ
2. กลุ่มผู้ชายขายบริการในบาร์เกย์ บารเกย์เป็นสถานที่ที่ถูกจัดไว้เพื่อขายบริการทางเพศโดยเฉพาะ รวมทั้งมีการตกแต่งสถานที่ให้แสดงถึงนัยการเป็นบาร์เกย์อย่างชัดเจน เช่น บาร์เกย์ในย่านสุริวงศ์และพัฒน์พงศ์ ถือเป็นสถานบริการที่มีขนาดใหญ่ที่สุดกลางในกลางเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย จากผลการสำรวจในเขตเมืองพัทยา พบว่า มีสถานประกอบการทั้งหมด 59 แห่ง แบ่งตามรูปแบบการให้บริการ ได้เป็น 6 รูปแบบ ประกอบด้วย บาร์ คลับ ผับ ร้านอาหารทั่วไป คาราโอเกะ นวดแผนโบราณ และศูนย์ออกกำลังกาย และเมื่อแบ่งตามระดับผู้รับบริการ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ (๑) สถานบริการระดับสูง ค่าบริการต่อครั้งตกราว 5,000 บาทขึ้นไป (๒) สถานบริการระดับกลาง อัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 1,500-2,500 บาท และ (๓) สถานบริการระดับล่าง เป็นสถานบริการเปิดอย่างโจ่งแจ้ง ให้บริการลูกค้าทุกระดับ อัตราค่าบริการ ตั้งแต่ 1,000-2,000 บาท โดยสถานบริการทั้ง 59 แห่ง ในพัทยาคาดว่ามีผู้ชายขายบริการทางเพศมากกว่า 500 คน โดยส่วนใหญ่มาจากครอบครัวเกษตรกร และแรงงานรับจ้างในต่างจังหวัด ส่วนใหญ่มาจากทางภาคอิสาน ส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 22.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นโสด และร้อยละ 12.5 ระบุว่ากลุ่มชายขายบริการนี้มีครอบครัวแล้ว ไม่เคยมีรสนิยมทางเพศในลักษณะ ชาย-ชาย มาก่อนที่จะมาทำงาน
3. กลุ่มชายขายบริการในอินดตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นพื้นที่เสมือนจริง
สถานะด้านสวัสดิการ ของกลุ่มชายขายบริการเหล่านี้ แทบจะไม่ได้รับสวัสดิการใด ๆ จากนายจ้างเลย จะมีบ้างก็เป็นสวัสดิการขึ้นพื้นฐาน เช่น การรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดให้

ที่มา : รายงานสถานการณ์ผู้ด้อยโอกาสและข้อเสนอในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้ด้อยโอกาส, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551
ภาพ: www.pattayadailynews.com

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment