Monday, December 24, 2012

เด็กไทยไอคิวต่ำกว่าพม่า และ 5 ล้านคนหายไปจากโรงเรียน



เด็กไทยไอคิวต่ำกว่าพม่า และ 5 ล้านคนหายไปจากโรงเรียน
            ผลการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทยปี 2554 และการกระจายระดับสติปัญญารายภาค ปี 2555 ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งสำรวจจากเด็กนักเรียนระดับ ป.1-ม.3 ในโรงเรียนทุกสังกัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 72,780 คน เมื่อเดือนธันวาคม 2553-มกราคม 2554 ผลออกมา พบว่า เด็กนักเรียนไทยมีไอคิว หรือสติปัญญาเฉลี่ยอยู่ที่ 98.59 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานกลางตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 100 และเมื่อเปรียบเทียบสติปัญญาเด็กไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า เด็กไทยมีค่าเฉลี่ยสติปัญญาต่ำกว่าเด็กประเทศพม่า แต่ถือว่าดีขึ้น เพราะผลการสำรวจปี 2549 เด็กไทยมีค่าสติปัญญาเฉลี่ยเท่ากับเด็กเขมร เท่านั้น
 
            ในขณะที่ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาทางวิชาการ สำนักงานส่งเสริมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้นำเสนอข้อมูลในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนเด็กไทย 5,752,500 คน หายไปจากโรงเรียน ทั้งๆ ที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ บังคับให้รัฐต้องจัดการศึกษาภาคบังคับให้เด็กไทยอย่างทั่วไปเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จำนวนเด็กไทย กว่า 5.7 ล้านคนที่หายไปจากโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 10 ของคนไทยทั้งประเทศ (คิดตามจำนวนประชากรไทย 65 ล้านคน) หากคิดเทียบกับจำนวนเด็กไทยในระบบการศึกษาด้วยกันสัดส่วนร้อยละต้องเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า จำนวนเด็กไทยกว่า 5.7 ล้านคนหายไปจากโรงเรียน กลายเป็นผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา
 
            ผลการสำรวจ พบว่า จำนวนเด็กไทยที่หายไปจากโรงเรียน จำแนกได้  คือ (1) เด็กป่วยเป็นโรคออทิสติก จำนวน 1,700,000 คน (2) เด็กไร้สัญชาติ จำนวน 300,000 คน (3) เด็กที่เป็นลูกของแรงงานต่างด้าว จำนวน 250,000 คน (4) เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร จำนวน 160,000 คน (5) เด็กที่เป็นแม่วัยใสที่ท้องและมีลูกตั้งแต่เด็ก จำนวน 100,000 คน (6) เด็กกำพร้า ที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง จำนวน 88,730 คน (7) เด็กที่ติดเชื้อเอสด์ไปจากพ่อแม่ จำนวน 50,000 คน (8) เด็กที่ก่ออาชญากรรมถูกดำเนินคดี จำนวน 50,000 คน (9) เด็กเร่ร่อยไร้ที่อยู่อาศัย จำนวน 30,000 คน (10) เด็กที่ถูกบังคับให้ค้าประเวณี จำนวน 25,000 คน (11) เด็กที่ถูกบังคับให้ใช้แรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 10,000 คน และ (12) เด็กติดยาเสพติด จำนวน 10,000 คน 
 
           ในขณะที่ข้อมูลการนำเสนอของสภาการศึกษา ผลการสำรวจปี พ.ศ. 2540-2551 พบว่า จำนวนเด็กไทยหลุดจากระบบการศึกษาก่อนจบชั้นมัธยม 3 ร้อยละ 20 และออกจากโรงเรียนก่อนจบชั้นมัธยม 6 ร้อยละ 30 เหลือจำนวนเด็กไทยสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพียงร้อยละ 35 เท่านั้น โดยที่มีเพียง 1 ใน 3 (ของร้อยละ 35) เท่านั้นที่ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย แล้วอนาคนของเด็กไทย คนรุ่นใหม่ของประเทศไทยจะเป็นเช่นไร....

(ข้อมูล: ไทยรัฐออนไลน์, ฉบับ 1กันยายน 255 ; http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/287631, ภาพ: อินเตอรเน็ต)

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment