Friday, September 11, 2009

สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดลำปาง 51 ตอน 1

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง ได้รายงาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดประเด็นปัญหาสังคมของจังหวัดลำปาง ภายใต้โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาสังคมของแต่ละจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 โดยใช้แบบสำรวจ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 104 แห่ง หน่วยงานด้านการพัฒนาสังคม จำนวน 32 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบสถานการณ์ปัญหาสังคมที่สำคัญ และเพื่อพัฒนาสังคม และจัดสวัสดิการสังคมของท้องถิ่น โดยมีข้อค้นพบสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดลำปางในปี 2551 ที่สำคัญ คือ สถานการณ์ปัญหาสังคมที่สำคัญ ประกอบด้วย ปัญหาด้านการศึกษา แรงงาน คุณธรรมจริยธรรม การคุ้มครองทางสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และด้านการพัฒนา (ที่มา : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง, 2551)
โดยสถานการณ์ปัญหาสังคมที่สำคัญของจังหวัดลำปาง พบว่ามีลักษณะของปัญหาเชิงซ้อนที่มีจุดเริ่มต้นจากครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทางสังคม ที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงทั้งระบบ ซึ่งเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ และในขณะเดียวกันก็พบปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมของคนในครอบครัวและสังคม ที่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น คนวัยทำงานออกไปหางานทำนอกพื้นที่ หรือใช้เวลาในการทำงานเพื่อสร้างรายได้และความมั่งคั่งให้แก่ตนและครอบครัว ทำให้เวลาที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพในครอบครัวลดน้อยลง โดยที่เด็กและคนชรา ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งให้อยู่ด้วยกัน ในขณะที่เด็กและเยาวชนก็หันออกไปแสวงหาความรักและความสุขนอกบ้าน โดยละทิ้งให้คนชราต้องถูกปล่อยให้อยู่อย่างเดียวดาย ไม่มีผู้ใหญ่ที่เป็นตัวแบบที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ส่งผลให้เด็กและเยาวชนในปัจจุบันขาดการเคารพนับถือผู้ใหญ่ เป็นต้น สำหรับปัญหาอื่น ๆ อีก 6 ประเด็นตามข้อมูลการรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานสำคัญด้านการพัฒนาสังคมของจังหวัดลาปาง คือ
1) ด้านการศึกษา พบว่า ในจังหวัดลำปางมีสถานศึกษาระดับประถม-มัธยมจำนวนมาก (482 แห่ง) ในขณะที่จำนวนนักเรียนลดลง ทำให้อัตราส่วนครูต่อนักเรียนมีค่าต่ำ (ค่าเฉลี่ยอัตราครู: นักเรียน ระดับก่อนประถมศึกษา, ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา เท่ากับ 1:18, 1:19, 1:27 ตามลำดับ การลดจำนวนครูตามจำนวนนักเรียนส่งผลให้เกิดปัญหาครูไม่ครอบคลุมทุกระดับชั้นและทุกกลุ่มวิชา ส่วนระดับอาชีวะ-อุดมศึกษา ก็มีสถานศึกษาจำนวนมาก (16 แห่ง) แต่จำนวนสาขาวิชามีความซ้ำซ้อนไม่สร้างทางเลือกที่หลากหลายให้แก่ผู้เรียน
2) ด้านแรงงาน พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2550 มีตำแหน่งว่างงานน้อยกว่าจำนวนผู้สมัครงาน สามารถบรรจุแรงงานได้เพียงร้อยละ 36.8 โดยอัตราที่บรรจุงานได้น้อยที่สุด คือ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ลักษณะงานที่บรรจุได้น้อยที่สุด คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติฝีมือแรงงาน (ร้อยละ 8.7)
3) ด้านคุณธรรมจริยธรรม พบว่า ความสามารถในการดำเนินงานของสถาบันหลักที่สำคัญ คือ โรงเรียน และวัด ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ พบว่า สถานศึกษามากกว่าร้อยละ 70 สามารถผ่านมาตรฐานได้ ยกเว้นด้านคุณภาพผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ (ร้อยละ 68.51) และ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร (ร้อยละ 54.62) ด้านสุขภาพ พบว่า ประชาชนจังหวัดลาปาง มีโรคติดต่อที่สำคัญ คือ วัณโรค ไข้เลือดออก และอาหารเป็นพิษ ในขณะที่โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ คือ การฆ่าตัวตาย หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และอุบัติเหตุจราจร สาหรับแนวโน้มปัญหาอื่นๆ มีแนวโน้มลดลง คือ การมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนที่มีอายุ 10 – 19 ปี ผลสืบเนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หรือในขณะที่อายุอยู่ระหว่าง 10-19 ปี พบว่ามีเยาวชนในช่วงอายุดังกล่าวมาคลอดบุตรที่สถานพยาบาลมีแนวโน้มที่ลดลง อย่างไรก็ดี มีเยาวชนมาคลอดบุตรใน พ.ศ. 2549 นี้มากถึง 412.68 คน ต่อประชากร หนึ่งแสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 13.96
4) ด้านการคุ้มครองทางสังคม จังหวัดลาปางเป็นจังหวัดที่มีทั้งการทำการเกษตร และอุตสาหกรรม พบว่ามีจำนวนผู้ประกันตน น้อยกว่าจำนวนแรงงานที่มีอยู่จริง เพราะส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ ทีไม่ได้รับสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐ
5) ด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน พบว่า ในจังหวัดลาปางมีสถิติด้านการประทุษร้ายร่างกายและทรัพย์สิน ในระดับหนึ่ง
6) ด้านการพัฒนา โดยเฉพาะทางการเมืองและธรรมาภิบาล ประชาชน มากกว่าร้อยละ 70 มีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
อาสาเฝ้าระวังทางสังคม

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment