ผลการติดตามและประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P) สภาเด็กและเยาวชนอำเภอและจังหวัด ปี 2552 พบว่า
1. การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่สภาเด็กและเยาวชน
1) การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ โดย ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการและกิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษา (ร้อยละ 74.13)การกีฬา (ร้อยละ 73.21) วัฒนธรรม (ร้อยละ 72.00) จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความสามารถ และจริยธรรม (ร้อยละ 86.00) และ เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น (ร้อยละ 84.66)
2) การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด โดย ดำเนินการประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ของเด็กและเยาวชนในเขตจังหวัด (ร้อยละ 93.33) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และเผยแพร่ด้านวิชาการ (ร้อยละ 62.66) การศึกษา (ร้อยละ 53.33) ด้านกีฬา (ร้อยละ 62.66)ด้านวัฒนธรรม (ร้อยละ 73.33) ส่งเสริมและสนับสนุนให้สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ และสถานศึกษาในเขตจังหวัดได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน (ร้อยละ 88.00) และส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่นได้จัดกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน (ร้อยละ 83.33)
2. ผลผลิตที่เป็นสิ่งดีๆ ที่เป็นจุดแข็งของสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ
1) ผลผลิตที่เป็นสิ่งดีๆ ที่เป็นจุดแข็งของสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ คือ คณะกรรมการมีจิตอาสา เสียสละ และมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (ร้อยละ 96.00) พี่เลี้ยงจากหน่วยงานต่างๆ และในพื้นที่เข้ามาช่วยดูแลและสนับสนุนงานของสภาเด็กและเยาวชน (ร้อยละ 82.66) ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมและสอนให้เด็กเรียนรู้และรู้จักแก้ไขปัญหา (ร้อยละ 87.33) มีความเป็นประชาธิปไตย รู้จักรับฟังความคิดที่แตกต่าง (ร้อยละ 100) เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง (ร้อยละ 100) และทำให้เกิดประสบการณ์และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรม ได้รู้จักเพื่อนใหม่ ฝึกให้มีความกล้าแสดงออก เสียสละ และอดทน
2) ผลผลิตที่เป็นสิ่งดีๆ ที่เป็นจุดแข็งของสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด คือ คณะกรรมการมีความเสียสละ มุ่งมั่น มีจิตอาสา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี (ร้อยละ 98.66) มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย (ร้อยละ 89.33) และได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการทำกิจกรรม (ร้อยละ 89.33)
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานสภาเด็กและเยาวชนอำเภอและจังหวัด จากรายงานผลการติดตาม พบว่า
1 ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินงานสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ คือ ด้านบุคลากร ได้แก่ขาดพี่เลี้ยง ขาดที่ปรึกษาในระดับอำเภอ และคณะกรรมการบริหารสภาเด็กอำเภอมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ครอบครัวหรือผู้ปกครองและครูไม่เข้าใจบทบาทสภาเด็กและเยาวชน(ร้อยละ 86.00) ด้านความรู้ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ความเข้าใจพรบ.อย่างชัดเจน การเขียนแผนงาน/โครงการ และการประสานงาน(ร้อยละ(64.00) ด้านงบประมาณได้แก่มีงบประมาณไม่เพียงพอในการดำเนินกิจกรรม ไม่รู้ช่องทางในการขอสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 69.33) ด้านการบริหารจัดการได้แก่ การบริหารจัดการเกี่ยวกับการดำเนินโครงการและกิจกรรมตามระเบียบของราชการ (ร้อยละ 64.66) ด้านสถานที่ ได้แก่ไม่มีสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ (ร้อยละ 13.33) และด้านอื่นๆ เช่นขาดความหลากหลายของกิจกรรม ไม่มีสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล ขาดการเชื่อมโยงกับสภานักเรียน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน และขาดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน(ร้อยละ 20.66)
2. ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินงานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด คือ ด้านบุคลากรได้แก่ มีการเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดบ่อย พี่เลี้ยงเปลี่ยนบ่อย ที่ปรึกษาบางจังหวัดขาดการให้ความสำคัญกับสภาเด็กและเยาวชน (ร้อยละ 81.33) ด้านความรู้ได้แก่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ การเขียนแผนงาน/โครงการ และการประสานงาน (ร้อยละ 56.00) ด้านงบประมาณได้แก่มีงบประมาณไม่เพียงพอในการดำเนินกิจกรรม (ร้อยละ 65.33) ด้านการบริหารจัดการได้แก่ขาดทักษะในการบริหารจัดการโครงการ/กิจกรรม (ร้อยละ 64.00) ด้านความร่วมมือได้แก่มีพื้นที่อยู่ห่างไกล การเตรียมตัวสอบเข้าเรียนต่อ ความไม่เข้าใจของผู้ปกครอง และครู (ร้อยละ 26.67) ด้านสถานที่ไม่มีสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด (ร้อยละ 28.00) และด้านอื่นๆเช่น ขาดแรงจูงใจในการทำงานและขาดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน (ร้อยละ14.67)
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment