หลายเรื่อง ยิ่งในยุคสมัยที่อะไรหลายๆ อย่างมันผันเปลี่ยนไป ทำให้วัยรุ่นส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้นทุกวัน
หนึ่งในปัญหาสำคัญของวัยรุ่นไทยอย่าง"ปัญหาโรคเอดส์และการมีความคิดเรื่องเพศสัมพันธ์แบบผิดๆ" ที่เผยแพร่ข้อมูลโดย สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) พบว่า ปัจจุบันเยาวชน 32.4% มองการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งเป็นเรื่องปกติ การมีคู่นอนชั่วคราว รวมถึงการสวิงกิ้ง การขายบริการทางเพศโดยเต็มใจมีจำนวนมากขึ้น และเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม มีแนวโน้มที่สูงขึ้น อีกทั้งยังพบเด็กเยาวชนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเป็นโรคเอดส์มากขึ้น โดยข้อมูลจากศูนย์รับบริจาคโลหิตพบ 5 ใน 1,000 คนที่มาบริจาคเลือด พบการติดเชื้อเอชไอวี สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่ยไทยติดเชื้อเอดส์มากขึ้น สาเหตุมาจากมีสื่อที่กระตุ้นเด็กให้มีเพศสัมพันธ์กันง่ายและมากขึ้น ทั้งผ่านทางโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต รวมถึงการที่เด็กในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอยู่กันเป็นคู่ ทั้งยังมีทัศนคติเดิมๆ ที่คิดว่าโรคเอดส์เป็นเรื่องของคนกลุ่มเสี่ยง แต่จริงๆ เอชไอวีอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด
ปัญหาต่อมาคือ "ปัญหาสุขภาพจิต" โดย น.พ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยถึงปัญหานี้ว่า ปัญหาสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่นไทยนั้นจะเป็นปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่ 1. ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อน คิดเป็น ร้อยละ 73.9 2. ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 29.6 3. ปัญหาสมาธิสั้น/อยู่ไม่นิ่ง ร้อยละ 27.8 และ 4. ปัญหาด้านอารมณ์ ร้อยละ 13.9 ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับเพื่อน เป็นปัญหาที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการดำเนินชีวิตทางสังคมของเด็ก เพราะเพื่อนเข้ามามีบทบาทสำคัญมาก ทั้งการเล่น การมีปฏิสัมพันธ์ การใช้ชีวิตด้วยกัน หากเด็กไม่สามารถเข้าไปรวมกลุ่มเพื่อนที่จะร่วมทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ก็จะขาดโอกาสในการเรียนรู้ และทำให้เกิดความเครียดในเด็ก จนหันเหไปอยู่กับกลุ่มที่สร้างปัญหาให้กับสังคมได้
"ปัญหาด้านสุขภาพ" ของวัยรุ่นไทยที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ข้อมูลว่า ในปี 2553 นี้ ปัญหาด้านสุขภาพวัยรุ่นไทยนั้นยังน่าห่วง โดยเฉพาะในวัยรุ่นชาย จากการสำรวจ วัยรุ่น 21 จังหวัดทั่วประเทศ รวมจำนวน 43,693 คน เป็นชาย 20,213 คน หญิง 23,480 คน อายุเฉลี่ย 13-17 ปี โดยพฤติกรรมที่สำรวจครั้งนี้ มุ่ง 5 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ การใช้สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การป้องกันอุบัติเหตุจราจร การกินอาหารและการควบคุมน้ำหนักตัว การแสดงความรุนแรง และการออกกำลังกาย ปรากฏว่าวัยรุ่นกินอาหารไม่ถูกต้อง โดยกินผักผลไม้สดน้อยกว่ามาตรฐานคือ วันละ 400 -600 กรัม มากถึงร้อยละ 59 และยังใช้วิธีควบคุมน้ำหนักตัวผิดๆ เช่น กินยาลดน้ำหนัก กินยาระบาย พบร้อยละ 10 มีวัยรุ่นร้อยละ 51 เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยเริ่มดื่มอายุ 13 ปี ส่วนสารเสพติดที่ใช้กันมาก ได้แก่ กัญชา กระท่อม และยาบ้า ส่วนการสูบบุหรี่พบว่า ร้อยละ 30 เคยสูบบุหรี่รวมแล้วมากกว่า 100 มวน สูบทุกวันร้อยละ 28 ทำนายได้เลยว่า หากวัยรุ่นไทยยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อาจทำให้อายุสั้น เสียชีวิตเร็ว
ปัญหาสุดท้าย "ปัญหาอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์" จากการเฝ้าระวังปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำจังหวัด ในปี 2552 พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้รับบาดเจ็บรุนแรงเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 21,639 ราย เสียชีวิต 493 ราย สาเหตุการบาดเจ็บรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตสูงที่สุด ได้แก่ อุบัติเหตุการขนส่ง พาหนะที่ทำให้เสียชีวิตสูงที่สุดได้แก่ รถจักรยานยนต์ และสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงคือ ผู้ขับขี่และผู้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ คือ ไม่สวมหมวกนิรภัย และยังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ปัญหาวัยรุ่นไทยนั้นคงต้องค่อยๆ แก้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และอย่างอะลุ่มอล่วย คงใช้วิธีการหักดิบหรือห้ามปรามอย่างรุนแรงคงไม่ได้ผลมากนัก เพราะปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากความคึกคะนองและค่านิยมที่ผิดๆการรับฟังปัญหาอย่างใส่ใจและให้ความสำคัญจากครอบครัวจะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ , ภาพประกอบจากเวปไซด์
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment