เป็นเรื่องน่าห่วงไม่น้อย เมื่อครอบครัวไทยเปลี่ยนสภาพจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยวกันมากขึ้น รวมไปถึงครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวก็มีแนวโน้มสูงไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นการหย่าร้าง การเสียชีวิตของคู่สมรส
โดยในครอบครัวอย่างหลังนี้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมในทางลบของเด็กได้มาก หากพ่อแม่ไม่เข้าใจ หรือขาดสติในการเลี้ยงลูก เด็กอาจตกเป็นเหยื่อของความชั่วร้าย นำไปสู่การเป็นยุวอาชญากร หรืออาชญากรเด็กในอนาคต
เห็นได้จากสถิติชุดหนึ่ง จัดทำโดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่นำประเด็นพื้นฐานครอบครัวไปพิจารณาชีวิตความเป็นอยู่ของเยาวชนที่ถูกส่งตัวเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ ยืนยันให้เห็นว่าคำกล่าวข้างต้นยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลแนวโน้มของคดีเด็ก และเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯ ทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2551 พบว่า ในช่วง 10 ปี เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดจนถูกส่งตัวเข้าสถานพินิจฯ มีพื้นฐานมาจากครอบครัวที่พ่อและแม่แยกกันอยู่มากกว่าครอบครัวที่พ่อและแม่ใช้ชีวิตร่วมกัน พูดง่ายๆ คือ แนวโน้มแสดงให้เห็นชัดเจนว่า เยาวชนที่ก่ออาชญากรรม กระทำผิด ฝ่าฝืนกฎหมาย เป็น "เด็กบ้านแตก" มากกว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีทั้งพ่อและแม่
ข้อเท็จจริงข้างต้น แทนคุณ จิตต์อิสระ หรือ อี้ ให้มุมมองในฐานะอนุกรรมาธิการกิจการเด็กและเยาวชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ยุวอาชญากร หรืออาชญากรเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ใช้กำลัง และความรุนแรงตั้งแต่เด็ก ซึ่งตามหลักจิตวิทยาเรียกว่า การถูกสร้างภาพฝังใจในเชิงลบ เช่น ถูกพ่อแม่ใช้ความรุนแรงด้วยการตีเป็นประจำ ถูกตำหนิ เหยียดหยาม หรือตกเป็นเหงื่อของการกระทำที่ไม่ได้ นอกจากนี้บ้านที่มีแต่ความรุนแรง พ่อแม่ทะเลาะกัน เด็กมีโอกาสหว้าเหว่ นำไปสู่การหลงผิด และเดินผิดได้ง่าย
"ไม่มีใครเกิดมาแล้วเป็นอาชญากรในทันที แต่มันเกิดจากการไม่ใส่ใจในตัวเด็ก หรือเลี้ยงดูไม่ถูกทาง โดยเด็กหลายๆ คนที่เป็นอาชญากรเด็ก มักซึมซัมพฤติกรรมของพ่อแม่โดยไม่รู้ตัว เช่น ลูกสู้เพื่อนไม่ได้ ก็สอนลูกให้แก้แค้น หรือเอาชนะ ซึ่งตัวเด็กถือเป็นเหยื่อถูกกระทำของครอบครัวไปแล้ว" อี้เผย
ดังนั้น อี้ฝากว่า พ่อแม่ต้องหาความรู้คู่กับความรัก และความสุข ถ้าช่วงใดที่เกิดทะเลาะ หรือมีเรื่องกระทบกระทั่งกัน ขอให้รีบกลับมาคืนดีให้เร็วที่สุด โดยพยายามมองหาสิ่งดี ๆ ที่เคยมีให้กันมาชดเชยสิ่งที่มันผิดพลาด เป็นทฤษฏีเอาน้ำดีไล่น้ำเสีย ไม่ใช่ต่างคนต่างไม่ยอม จนเสียเวลาอันค่าระหว่างนั้นไป
ด้าน ทิชา ณ นคร หรือ ครูมล ผอ.ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก จ.นครปฐม เคยบอกไว้ในประเด็นเดียวกันว่า "ไม่มีมนุษย์คนไหน เกิดมาเพื่ออยากเป็นคนเลว และไม่มีมนุษย์คนไหนที่จะคว้าความเป็นอาชญากรมาจากมดลูกแม่" เพราะฉะนั้นการที่เขาจะเป็นใครสักคนในประเทศ ดีหรือร้าย ขาวหรือดำ ล้วนมีปัจจัยแวดล้อมทั้งในระดับใกล้ตัว และไกลตัวที่ต่างกัน ครอบครัวคือส่วนสำคัญในการเลี้ยงดู ที่ต้องเข้าใจ และปรับวิธีคิดไปตามความเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยลูก โดยเฉพาะสิทธิส่วนบุคคล ถือเป็นสิทธิอันศักดิ์สิทธิ์ที่พ่อแม่ต้องเคารพ
ถึงเวลาตั้งนานแล้วที่ครอบครัว และสังคมไทยต้องเร่งแก้ไขฟื้นฟูเรื่องเด็ก และเยาวชนเป็นพิเศษ และเป็นวาระเร่งด่วน เพราะเด็กที่ตกเป็นเหยื่อเหล่านี้ อาจจะกลายไปเป็นผู้กระทำต่อเนื่อง และสร้างเหยื่อรายใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือบทพิสูจน์หนึ่งถึงความสำคัญของ "สถาบันครอบครัว" ที่ส่งผลต่อสุขภาวะของสังคมอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ตุลาคม 2553, ภาพ: จากอินเตอร์เน็ต
เห็นได้จากสถิติชุดหนึ่ง จัดทำโดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่นำประเด็นพื้นฐานครอบครัวไปพิจารณาชีวิตความเป็นอยู่ของเยาวชนที่ถูกส่งตัวเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ ยืนยันให้เห็นว่าคำกล่าวข้างต้นยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลแนวโน้มของคดีเด็ก และเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯ ทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2551 พบว่า ในช่วง 10 ปี เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดจนถูกส่งตัวเข้าสถานพินิจฯ มีพื้นฐานมาจากครอบครัวที่พ่อและแม่แยกกันอยู่มากกว่าครอบครัวที่พ่อและแม่ใช้ชีวิตร่วมกัน พูดง่ายๆ คือ แนวโน้มแสดงให้เห็นชัดเจนว่า เยาวชนที่ก่ออาชญากรรม กระทำผิด ฝ่าฝืนกฎหมาย เป็น "เด็กบ้านแตก" มากกว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีทั้งพ่อและแม่
ข้อเท็จจริงข้างต้น แทนคุณ จิตต์อิสระ หรือ อี้ ให้มุมมองในฐานะอนุกรรมาธิการกิจการเด็กและเยาวชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ยุวอาชญากร หรืออาชญากรเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ใช้กำลัง และความรุนแรงตั้งแต่เด็ก ซึ่งตามหลักจิตวิทยาเรียกว่า การถูกสร้างภาพฝังใจในเชิงลบ เช่น ถูกพ่อแม่ใช้ความรุนแรงด้วยการตีเป็นประจำ ถูกตำหนิ เหยียดหยาม หรือตกเป็นเหงื่อของการกระทำที่ไม่ได้ นอกจากนี้บ้านที่มีแต่ความรุนแรง พ่อแม่ทะเลาะกัน เด็กมีโอกาสหว้าเหว่ นำไปสู่การหลงผิด และเดินผิดได้ง่าย
"ไม่มีใครเกิดมาแล้วเป็นอาชญากรในทันที แต่มันเกิดจากการไม่ใส่ใจในตัวเด็ก หรือเลี้ยงดูไม่ถูกทาง โดยเด็กหลายๆ คนที่เป็นอาชญากรเด็ก มักซึมซัมพฤติกรรมของพ่อแม่โดยไม่รู้ตัว เช่น ลูกสู้เพื่อนไม่ได้ ก็สอนลูกให้แก้แค้น หรือเอาชนะ ซึ่งตัวเด็กถือเป็นเหยื่อถูกกระทำของครอบครัวไปแล้ว" อี้เผย
ดังนั้น อี้ฝากว่า พ่อแม่ต้องหาความรู้คู่กับความรัก และความสุข ถ้าช่วงใดที่เกิดทะเลาะ หรือมีเรื่องกระทบกระทั่งกัน ขอให้รีบกลับมาคืนดีให้เร็วที่สุด โดยพยายามมองหาสิ่งดี ๆ ที่เคยมีให้กันมาชดเชยสิ่งที่มันผิดพลาด เป็นทฤษฏีเอาน้ำดีไล่น้ำเสีย ไม่ใช่ต่างคนต่างไม่ยอม จนเสียเวลาอันค่าระหว่างนั้นไป
ด้าน ทิชา ณ นคร หรือ ครูมล ผอ.ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก จ.นครปฐม เคยบอกไว้ในประเด็นเดียวกันว่า "ไม่มีมนุษย์คนไหน เกิดมาเพื่ออยากเป็นคนเลว และไม่มีมนุษย์คนไหนที่จะคว้าความเป็นอาชญากรมาจากมดลูกแม่" เพราะฉะนั้นการที่เขาจะเป็นใครสักคนในประเทศ ดีหรือร้าย ขาวหรือดำ ล้วนมีปัจจัยแวดล้อมทั้งในระดับใกล้ตัว และไกลตัวที่ต่างกัน ครอบครัวคือส่วนสำคัญในการเลี้ยงดู ที่ต้องเข้าใจ และปรับวิธีคิดไปตามความเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยลูก โดยเฉพาะสิทธิส่วนบุคคล ถือเป็นสิทธิอันศักดิ์สิทธิ์ที่พ่อแม่ต้องเคารพ
ถึงเวลาตั้งนานแล้วที่ครอบครัว และสังคมไทยต้องเร่งแก้ไขฟื้นฟูเรื่องเด็ก และเยาวชนเป็นพิเศษ และเป็นวาระเร่งด่วน เพราะเด็กที่ตกเป็นเหยื่อเหล่านี้ อาจจะกลายไปเป็นผู้กระทำต่อเนื่อง และสร้างเหยื่อรายใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือบทพิสูจน์หนึ่งถึงความสำคัญของ "สถาบันครอบครัว" ที่ส่งผลต่อสุขภาวะของสังคมอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ตุลาคม 2553, ภาพ: จากอินเตอร์เน็ต
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment