รายงานผลการติดตามและประเมิน ด้านการติดตามและประเมินปัจจัยนำเข้า และการติดตามและประเมินกระบวนการ โดยสรุป ดังนี้
ผลการติดตามและประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I ) พบว่า
1. การได้รับงบประมาณ/วัสดุ/อุปกรณ์/อาคารสถานที่และอื่นๆ สนับสนุนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนอำเภอปีงบประมาณ 2551 และ 2552 สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจาก หน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอื่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และกองทุนสวัสดิการสังคม
2. การได้รับงบประมาณ/วัสดุ/อุปกรณ์/อาคารสถานที่และอื่นๆ สนับสนุนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ปีงบประมาณ 2551 และ 2552 สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจาก หน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกระทรวงอื่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และกองทุนสวัสดิการสังคมจังหวัด
ผลการติดตามและประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า
1. กระบวนการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน
1) กระบวนการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ พมจ.จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ โดยสมาชิกประกอบด้วยเด็กและเยาวชนที่อยู่ในอำเภอนั้น ก่อนวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ( ร้อยละ 97.33) โดยจัดให้มีคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ประกอบด้วยประธานสภา 1 คน และผู้บริหารอีกไม่เกิน 15 คน ซึ่งคัดเลือกจากผู้แทนนักเรียนหรือนักศึกษาจากสถานศึกษาที่อยู่ในอำเภอนั้น ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป (ร้อยละ 96.00) และผู้แทนเด็กและเยาวชนซึ่งไม่ได้อยู่ในสังกัดสถานศึกษา (ร้อยละ 79.33) และ ให้มีที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ประกอบด้วย พมจ. (ร้อยละ 98.67) ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลอำเภอนั้น (ร้อยละ 89.33) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 94.00) ผู้แทนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนที่มีกิจกรรม หรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน (ร้อยละ 82.67)
2) กระบวนการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด พมจ. จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ประกอบด้วยผู้แทนจากคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ จำนวนไม่เกิน 5 คน จากแต่ละสภาเด็กและเยาวชนอำเภอในจังหวัด ก่อนวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2551 (ร้อยละ 96.00) โดยจัดให้มีคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ประกอบด้วยประธานสภา 1 คน และผู้บริหารอีกไม่เกิน 20 คน ซึ่งคัดเลือกกันเองจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด (ร้อยละ 100) และให้มีที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด (ร้อยละ 97.33) พมจ. (ร้อยละ 98.66) ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (ร้อยละ 98.66) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ร้อยละ 96.00) ผู้แทนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนที่มีกิจกรรม หรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 5 คน (ร้อยละ 85.33)
2. การสนับสนุนกิจกรรมและพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชน พบว่า
1) พมจ. ได้สนับสนุนกิจกรรมและพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ โดย การจัดประชุม /ปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในเขตอำเภอ และดำเนินการอื่นที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง โดยส่วนใหญ่ดำเนินการ จัดประชุมเพื่อจัดกิจกรรม (ร้อยละ 74.00) และจัดประชุมประจำเดือน (ร้อยละ 56.67) การจัดกิจกรรม โดยส่วนใหญ่จัดกิจกรรม อบรม/สัมมนา (ร้อยละ 69.33) และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ (ร้อยละ 68.67) และการจัดให้มีการพัฒนาศักยภาพคณะบริหารฯ ด้วยวิธีการต่างๆ ในรอบปีที่ผ่านมา (ระหว่างเดือนกรกฎาคม 51- กรกฎาคม 52) โดยส่วนใหญ่จัดการประชุม/อบรม/สัมมนา (ร้อยละ 80.67) และจัดการศึกษาดูงาน (ร้อยละ 40.67)
2) พมจ. ได้สนับสนุนกิจกรรมและพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด โดย สนับสนุนให้จัดทำข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินงาน โดยกำหนดจัดให้มีการประชุมสามัญอย่างน้อยปีละครั้ง (ร้อยละ 90.66) ประชุมสามัญอย่างน้อยปีละครั้ง (ร้อยละ 90.66) จัดประชุมประจำเดือน (ร้อยละ 73.33) การจัดประชุมเพื่อวางแผนในการจัดกิจกรรม (ร้อยละ84.00) ดำเนินงานตามข้อกำหนดในข้อบังคับฯ (ร้อยละ 96.00) จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพคณะบริหารฯด้วยวิธีการต่างๆ โดย การประชุม/อบรม/สัมมนา (ร้อยละ 98.66) และการศึกษาดูงาน (ร้อยละ 48.00)
3. การนิเทศติดตามการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน พบว่า
1) พมจ. จัดให้มีการนิเทศติดตามการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ โดยใช้วิธีการสำคัญ คือ การไปร่วมวางแผน/ประชุมในการจัดกิจกรรม (ร้อยละ 54.00) การประสานทางโทรศัพท์ (ร้อยละ 22.00) จัดประชุมสภาฯ (ร้อยละ 19.33) การตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 6.66) การลงพื้นที่อำเภอ (ร้อยละ 7.33)
2) พมจ. จัดให้มีการนิเทศติดตามการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด โดยใช้วิธีการสำคัญ คือ การประชุมประจำเดือน (ร้อยละ 60.00) การนัดพูดคุยกันแบบไม่เป็นทางการ (ร้อยละ 54.66) การเข้าร่วมกิจกรรม (ร้อยละ 50.66) การตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 13.33)
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment