งานปอยเป็นงานบุญครั้งยิ่งใหญ่ (งานบุญประเพณีของชาวล้านนา) ซึ่งคนในชุมชนจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่จะถวายเสนาสนะที่สร้างเสร็จใหม่ภายในวัด ไม่ว่าจะเป็นวิหาร อุโบสถ กำแพงวัด โรงฉัน และศาสนา เป็นต้น ให้เป็นสมบัติของสงฆ์ เพื่อใช้ในงานสาธารณประโยชน์ต่อไป ช่วงประเพณีปอยหลวง มักจะจัดขึ้นตั้งแต่เดือน 5-8 เหนือ(เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม) เพราะเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา งานนี้จะจัดขึ้นประมาณ 3- 7 วันแล้วแต่ฐานะของแต่ละชุมชน
งานปอยหลวงเป็นงานใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนเป็นจำนวนมาก มีกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งทางศาสนา และด้านมหรสพเพื่อความ... ทั้งยังต้องจัดการอำนวยความสะดวก ด้านการบริการแก่แขกต่างหมู่บ้าน ซึ่งจะมีทั้งสมณะและฆราวาส ทุกเพศ ทุกวัย ทางวัด และศรัทธาเจ้าภาพต้องดูแลให้ทั่วถึง
ดังนั้น เจตนารมณ์ของงานประเพณีปอยหลวงที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตนั้น คือ ความต้องการร่วมกันของคนในชุมชน ในการจัดงานบุญครั้งยิ่งใหญ่ขึ้น เพื่อให้เกิดบุญกุศล และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของแต่ละคนตลอดไปจนถึงสันติสุขในครอบครัว และความสงบร่มเย็นของชุมชน
อย่างไรก็ตามปัจจุบันงานปอยหลวงในชุมชนเริ่มแปรเปลี่ยนกลับกลายเป็นงานที่มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ในการเลี้ยงดูแขก และเครือญาติ คุณค่าที่แท้จริงในทางศาสนาและพิธีกรรมลดลง ทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านต้องจัดเตรียมสถานที่ ข้าวปลาอาหารอย่างดี และที่ขาดไม่ได้ในแต่ละบ้าน คือ เครื่องดื่มของมึนเมา ซึ่งก่อนจัดงานปอย พ่อค้าส่งจะนำเครื่องดื่มทั้งสุรา เบียร์ น้ำอัดลม รวมถึงน้ำแข็งมาลงไว้ให้ก่อนโดยยังไม่ต้องจ่ายเงิน
พอถึงวันงานก็จะมีแขกและเครือญาติมาร่วมทำบุญ ซึ่งจำนวนคนที่มาแต่ละหลังคาเรือนอยู่ที่ว่า เจ้าของบ้านมีเพื่อนฝูงและเคยไปร่วมทำบุญงานปอยใครไว้บ้าง คือ เราไปช่วยทำบุญเขา เขาก็มาช่วยทำบุญคืน เจ้าภาพก็มีหน้าที่ทำอาหาร และเครื่องดื่มมาเลี้ยงดู ระยะ 3-5 วัน ที่วัด งานปอยหลวง ระยะหลังเป็นกับแกล้ม ที่สุดสิ่งที่พบเห็นทั่วไปคือคนเมา ดื่มบ้านนี้ ยกไปต่อบ้านโน้น และผลที่ตามมาคือคนเมา บางรายก่อเหตุทะเลาะวิวาท ซึ่งเป็นทั้งวัยทำงานและวัยรุ่น นอกจากนั้นยังมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากการจรจรคับคั่ง และเมาแล้วขับ จนกระทั้งวันแห่ต้นครัวทานเข้าวัด จะเป็นวันที่มีคนมาร่วมงานมากที่สุด จากเดิมเป็นขบวนแห่ที่เรียบร้อยสวยงามมีเครื่องแห่ฆ้อง แห่กลอง คนเฒ่าคนแก่จะมีเครื่องไทยทานนำหน้า เด็กตามหลัง ก็กลายเป็นคนเมานำหน้า แบกต้นครัวทานเต้นอย่างเมามันตามจังหวะเพลง ชาวบ้านจะนิยมจ้างเหมาเครื่องเสียงมานำหน้าขบวนแต่ละหัวหมวดบ้าน กลายเป็นขบวนแห่คนเมาและบ้าคลั่งภายใต้การกระหนำของเสียงดนตรี มือซ้ายถือขวดเหล้ามือขวากระดกแก้วเหล้าเข้าปากเพื่อน คนเฒ่าคนแก่ที่เดินตามหลังต้องคอยเก็บยอดเงินที่ตกจากต้นครัวทานกว่าจะถึงวัด ต้นครัวทานที่เคยสวยงามและเป็นของสูงกลับเหลือแต่โครงสร้างดอกไม้หล่นร่วงหาย กระดาษเงิน กระดาษทองขาดวิ่นไปถวายพระที่วัด ต้นครัวทานจะถูกยกไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ตั้งแต่พ่อบ้าน แม่บ้าน และวัยรุ่นที่เป็นกำลังหลักของชุมชน ดื่มเหล้าเมา เต้นอยู่วงดนตรีหน้าวัด มีหางเครื่องนุ่งน้อยห่มน้อย หรือที่เรียกกันว่า “ดนตรีขาขาว” เหลือเพียงคนเฒ่า คนแก่ ที่เข้าวัดไปทำบุญถวายทาน
ป้า...นักสังคมสงเคราะห์ สสว.๑๐
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment