Thursday, February 11, 2010

สถานการณ์ทางสังคมของท้องถิ่น 2552

สำนักตรวจและประเมินผล(สตป.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รายงานสถานการณ์ข้อมูลทางสังคมของท้องถิ่น ปี 2552 จากการจัดเก็บข้อมูลตามแบบการรายงานสถานการณ์ทางสังคมของท้องถิ่น ปี 2552 ( อปท.1) จัดเก็บข้อมูลจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 7,777 แห่ง ครอบคลุมตัวอย่างประชากรจำนวนครัวเรือนในท้องถิ่น จำนวน 12,872,715 ครัวเรือน จำนวนประชากรในท้องถิ่น เพศหญิง จำนวน 21,393,000 คน คิดเป็นร้อยละ 50.48 และเพศชาย จำนวน 20,984,469 คน คิดเป็นร้อยละ49.52 โดยมีผลการศึกษา ดังนี้
ปัญหาเชิงประเด็น จำนวน 605,673 หน่วย พบว่า ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นปัญหาครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย จำนวน 244,752 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 40.41 รองลงมาปัญหาครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทางธรรมชาติ ในระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวน 152,744 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 25.22 และปัญหาครัวเรือนที่มีสภาพที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงถาวร จำนวน 106,362 หน่วย คิดเป็นร้อยละ17.56
ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ผลการศึกษาพบว่ามีจำนวนปัญหาด้านสุขภาพอนามัย จำนวน 439,733 หน่วย ส่วนใหญ่เป็นปัญหาประชาชนที่ติดสุราเรื้อรัง จำนวน 85,842 หน่วย คิดเป็นร้อยละ19.52 รองลงมาเป็นปัญหาประชาชนที่เจ็บป่วยและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ จำนวน 74,774 หน่วย คิดเป็นร้อยละ17.00 และ ปัญหาประชาชนที่ติดโรคระบาดในรอบปี จำนวน 70,422 หน่วย คิดเป็นร้อยละ16.01
ปัญหาด้านการศึกษา พบว่า มีปัญหาปัญหาด้านการศึกษา จำนวน 173,796 หน่วย โดยส่วนใหญ่เป็นปัญหาเยาวชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี/การศึกษาสายอาชีพ แล้วไม่มีงานทำในรอบ 1 ปี ที่จบการศึกษา จำนวน 64,068 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 36.86 รองลงมาคือปัญหาคนที่จบการศึกษาชั้นประถม แต่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ จำนวน 42,810 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 24.63 ปัญหาเด็กที่ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อตามภาคบังคับได้ จำนวน 35,541 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 20.45 และเด็กที่ออกเรียนกลางคันในภาคการศึกษาบังคับ จำนวน 42,810 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 24.63 ตามลำดับ
ปัญหาด้านการมีงานทำและรายได้ ทั้งหมด จำนวน 1,145,252 หน่วย ส่วนใหญ่เป็นปัญหาประชาชนที่มีรายได้น้อยที่มีหนี้สินและมีปัญหาในการส่งใช้เงินกู้ยืม และสมควรได้รับความช่วยเหลือ จำนวน 484,547 หน่วย คิดเป็นร้อยละ42.31 รองลงมา คือ ปัญหาประชาชนที่มีรายได้น้อยขาดแคลนทุนประกอบอาชีพเพื่อยังชีพ และสมควรได้รับความช่วยเหลือ จำนวน 410,070 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 35.81 และปัญหาประชาชนในวัยทำงานที่ไม่มีงานทำหรือไม่ประกอบอาชีพมากกว่า 6 เดือน ในรอบ 1 ปี จำนวน 250,635 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 21.88
ปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จำนวนทั้งหมด 710,040 หน่วย โดยมีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนใหญ่เป็นปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยในรอบปี (ทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์) จำนวน 524,365 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 73.85 รองลงมาคือ ปัญหาประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุจากยานพาหนะในรอบปีที่ผ่านมา จำนวน 89,552 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 12.61 และปัญหาประชาชนที่ประสบภัยจากการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา จำนวน 34,320 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 4.83 ประชาชนถูกลักทรัพย์/ชิงทรัพย์/ถูกทำลายทรัพย์สินในรอบปีที่ผ่านมา จำนวน 27,308 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 3.85 ประชาชนถูกทำร้ายทางร่างกายในรอบปีที่ผ่านมา จำนวน 23,531 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 3.31 คนสูญหาย/ติดต่อไม่ได้ในรอบปี จำนวน 7,385 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 1.04 ตามลำดับ
ปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม จำนวน 51,348 หน่วย ส่วนใหญ่เป็นปัญหาร้านค้าที่ขาย เหล้า/บุหรี่ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาและ ศาสนสถาน จำนวน 23,290 หน่วย คิดเป็นร้อยละ45.36 รองลงมา คือ ปัญหากลุ่มเครือข่ายที่ยังมีปัญหาเรื่องความปรองดอง และจำเป็นต้องมีการจัดการให้เกิดความสมานฉันท์ จำนวน 17,376 หน่วย คิดเป็นร้อยละ33.84 ปัญหาร้านสื่อลามก / ร้านเกมส์ / ร้านอินเตอร์เน็ตภายในท้องถิ่น จำนวน 10,682 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 20.80
ปัญหาเชิงประเด็นสังคม จำนวน 3,125,842 หน่วย ส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านการมีงานทำและรายได้ จำนวน 1,145,252 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 36.64 รองลงมาคือ ปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จำนวน 710,040 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 22.72 ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม จำนวน605,673 หน่วย คิดเป็นร้อยละ19.38 ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย จำนวน 439,733 หน่วย ปัญหาด้านการศึกษา จำนวน 173,796 คิดเป็นร้อยละ 5.56 และปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม จำนวน 51,348 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 1.64
ปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนา ปัญหาเด็กและเยาวชน ( อายุ 0 - 25 ปี ) พบว่า มีปัญหาจำนวน 234,891 หน่วย โดยมีปัญหาเด็กขาดผู้อุปการะ จำนวน 42,145 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 7.90 เด็กถูกทอดทิ้ง จำนวน 66,352 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 12.44 เด็กไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน จำนวน 20,574 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 3.86 เด็กกำพร้า จำนวน 57,448 คิดเป็นร้อยละ 10.77 เยาวชนในครอบครัวยากจนที่ไม่มีทุนการศึกษาต่อ จำนวน 107,168 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 20.09 เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมและพบเห็นได้ในที่สาธารณะ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และติดสารเสพติดร้ายแรง เช่น ยาบ้า ยาอี สารระเหย กัญชา เป็นต้น จำนวน 99,849 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 42.51 มั่วสุมและทำความรำคาญให้กับชาวบ้าน จำนวน 36,995 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 15.75 ติดเกม และเล่นการพนันต่าง ๆ จำนวน 35,515 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 15.12 และมีพฤติกรรมทางเพศ จำนวน 11,254 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 4.79 ปัญหาเด็กและเยาวชนเร่ร่อน ขอทาน จำนวน 908 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 0.39 เด็กและเยาวชนที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จำนวน 8,477 คิดเป็นร้อยละ 3.61 เยาวชนในชุมชนที่เลี้ยงดูบุตรตามลำพัง จำนวน 5,121 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 2.18 เด็กและเยาวชนต่างด้าว จำนวน 36,772 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 15.65
ปัญหาครอบครัว ผลการศึกษา จำนวน 149,320 หน่วย พบว่า ปัญหาครอบครัว ครอบครัวหย่าร้าง (เลิกกัน/ไม่อยู่ด้วยกันฉันท์สามีภรรยา) จำนวน 82,963 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 55.56 ครอบครัวที่มีบุตรหลานประพฤติตัวไม่เหมาะสมและพบเห็นได้ในที่สาธารณะ จำนวน 36,738 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 24.60 ครอบครัวที่มีหัวหน้าครอบครัวประพฤติตัวไม่เหมาะสม จำนวน 15,110 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 10.12ครอบครัวที่ไม่เลี้ยงดูบุพการีตามสภาพที่เหมาะสม (บุพการี หมายถึง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น) จำนวน 11,723 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 7.85 และครอบครัวที่กระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรี จำนวน 2,786 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 1.87
ปัญหาสตรีทั้งหมด จำนวน 98,904 หน่วย โดยส่วนใหญ่คือ ปัญหาสตรีหม้ายที่ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพัง จำนวน 89,664 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 90.66 รองลงมา คือ ปัญหาสตรีที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ จำนวน 6,539 หน่วย คิดเป็นร้อยละ6.61 และปัญหาสตรีที่ถูกละเมิดทางเพศ จำนวน 2,701 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 2.73
ปัญหาผู้สูงอายุ จำนวน 293,058 หน่วย พบว่าปัญหาผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้ไปแจ้งจดทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพได้ตามกำหนด จำนวน 102,037 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 34.82 รองลงมาคือ ปัญหาผู้สูงอายุที่ยากจนและมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตรหลาน จำนวน 71,439 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 24.38 และปัญหาผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงบริการ/กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ จำนวน 58,532 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 19.97 ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และสมควรได้รับความช่วยเหลือ (ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังและไม่มีผู้ดูแล) จำนวน 50,988 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 17.40 ผู้สูงอายุที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน / ไม่มีบัตรประชาชน จำนวน 7,896 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 2.69 และผู้สูงอายุที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ จำนวน 2,166 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 0.74
ปัญหาคนพิการ โดยคนพิการคนพิการที่ทางท้องถิ่นสำรวจไว้แล้ว จำนวน 329,113 หน่วย จำแนกเป็น คนพิการทางการมองเห็น 42,014 คน คนพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย 42,931 คน คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว 141,934 คน คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม 26,904 คน คนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ (ปัญญาอ่อน) 53,129 คน คนพิการซ้ำซ้อน (มีสภาพความพิการมากกว่า 1 ประเภท) 228,201 คน คนพิการที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จำนวน 19,265 คน คิดเป็นร้อยละ 22.64 โดยคนพิการที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ (ทั้งที่จดทะเบียนแล้วและยังไม่ได้จดทะเบียน) 62,528 คน คิดเป็นร้อยละ 73.46 คนพิการที่ถูกทอดทิ้ง/ไม่ได้รับความเอาใจใส่จากครอบครัว จำนวน 3,323 คน คิดเป็นร้อยละ 3.90
ปัญหาแรงงาน พบจำนวน 288,860 หน่วย โดยมีปัญหาแรงงานส่วนใหญ่เป็นปัญหาแรงงานไทยที่อพยพมาจากต่างถิ่น จำนวน 130,432 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 51.35 รองลงมาคือ ปัญหาคนที่ถูกเลิกจ้างและว่างงานไม่มีรายได้ จำนวน 68,547 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 26.99 ปัญหาครอบครัวแรงงานต่างด้าวในท้องถิ่น จำนวน 31,929 หน่วย คิดเป็นร้อยละ12.57 และแรงงานต่างด้าวในท้องถิ่นที่ยังไม่ได้รับการ จดทะเบียน จำนวน 23,091 คิดเป็นร้อยละ 9.09
ที่มา: สำนักตรวจและประเมินผล(สตป.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, รายงานสถานการณ์ข้อมูลทางสังคมของท้องถิ่น ปี 2552
อาสาเฝ้าระวังทางสังคม

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment