จากเวทีเสวนาเรื่อง “ เด็กและเยาวชนกับการพัฒนาสังคม” โดยมี ผศ.จำลอง คำบุญชู หัวหน้าทีม Child watch ภาคเหนือ เป็นผู้ดำเนินรายการ ในประเด็นปัญหาเด็กและเยาวชนและความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเสวนาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนกับการพัฒนาสังคม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553
โดยตัวแทนทีมยุววิจัยสังคม “คุณแม่วัยรุ่น” ในเขตพื้นที่ อบต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ได้กล่าวถึงที่มาของการเข้ามาศึกษาวิจัยเรื่อง “คุณแม่วัยรุ่น” เริ่มจากการได้รับทราบข้อมูลว่า โดยเฉลี่ยในหนึ่งเดือน โรงพยาบาลแม่จันจะมีเด็กอายุ 13-19 ปีมาทำคลอดประมาณเดือนละ 10 ราย และตามข้อมูล Child watch ทั่วประเทศประมาณ 60,000 คน ทำให้ทีมยุววิจัยสังคมเห็นว่าปัญหาคุณแม่วัยรุ่นเป็นประเด็นที่น่าจะนำมาศึกษา โดยนักวิจัยได้แบ่งเป็น 4 กรณี คือ กรณีที่ 1 คุณพ่อคุณแม่วัยรุ่นอยู่ด้วยกัน กรณีที่ 2 มีแต่คุณแม่วัยรุ่นส่วนคุณพ่อวัยรุ่นไม่รับผิดชอบ กรณีที่ 3 พ่อแม่ของคุณพ่อคุณแม่วัยรุ่นก็คือผู้ปกครองไม่ให้การยอมรับคือการตัดหางปล่อยวัด และกรณีที่ 4 คุณพ่อคุณแม่ของวัยรุ่นเองไม่สนใจลูกตัวเองปล่อยให้อยู่กับคุณตาคุณยาย
โดยผลจากการที่ทีมยุววิจัยสังคมไปสำรวจข้อมูลสถิติการคลอดบุตรจากโรงพยาบาล ปี 2552 พบว่า เด็กและเยาวชนอายุตั้งแต่ 13-19 ปี ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะมาทำคลอด จำนวน 121 ราย โดยพบว่า คุณแม่วัยรุ่นจะมีอายุน้อยลงไปเรื่อยๆ ที่เราจะพบน้อยที่สุดก็คือ 13 ปี ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ที่เราควรจะช่วยกันแก้ไข และนำไปพัฒนา โดยอยากจะให้สังคมยอมรับว่าเราสามารถผิดพลาดกันได้ และถ้าคนเราผิดพลาดกันแล้ว สังคมยอมรับแล้ว กลับมาอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ โดยงานวิจัยของทีมยุววิจัยก็จะถามว่า ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้วยังเรียนอยู่หรือเปล่า และคุณแม่อยากกลับไปเรียนอีกหรือป่าว ถ้าอยากกลับไปเรียน ที่ตำบลของเราก็จะเปิดโอกาสให้จะมีโรงเรียนชาวบ้านก็จะเปิดโอกาสให้เข้าเรียน ส่วนคุณแม่คนไหนที่ไม่อยากเรียน ก็จะประสานกับ อบต.ป่าตึง เกี่ยวกับโครงการสร้างอาชีพใหม่ ให้กับคุณแม่วัยรุ่น ซึ่งก็จะเป็นการทำให้คุณแม่อยู่ในสังคมได้อย่างปกติไม่ได้อยู่ด้วยความผิดพลาดหรือว่าปมด้อยอะไร
ในส่วนเรื่อง “เด็กและเยาวชนกับการพัฒนาสังคม” เราต้องมองก่อนว่าสังคมคาดหวังกับเด็กๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ก็เช่นเดียวกันเด็กก็คาดหวังกับสังคมมากเช่นเดียวกันว่า สังคมจะเปิดโอกาส และยอมรับให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของเด็ก เด็กก็อาจจะสามารถพัฒนาสังคมได้ดีกว่านี้ อยากให้สังคม หรือผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นบ้าง อยากให้ยอมรับความคิดเห็นของเด็กๆ ก็มีความคิดเห็นหรืออยากจะแสดงออกให้ผู้ใหญ่เห็นและรับรู้ จากการทำงานกับ Child watch ทำให้เราได้แสดงความคิดเห็นให้ผู้ใหญ่รู้ว่าเป็นการสะท้อนความคิดของเด็กและเยาวชนแล้วก็ถ้าผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้กับเด็ก แสดงความคิดเห็นทำให้ผู้ใหญ่คิดได้ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป คือ จริงๆ ปัญหาวัยรุ่นถ้าจะให้ผู้ใหญ่มาแก้ไขก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าวัยรุ่นก็จะต้องเข้าใจในตัววัยรุ่นเองส่วนมากวัยรุ่นก็จะไม่ค่อยชอบในเหตุผลหรือเงื่อนไขหลักการอะไรๆ วัยรุ่นบางคนที่มาเป็นคุณแม่ บางคนก็ไม่ได้เกิดจากตัวเขาเอง อาจจะส่งผลมาจากครอบครัวของเขาคือ คุณพ่อคุณแม่ทำงานมีเวลาให้กับลูกทำให้ลูกขาดความอบอุ่น ทำให้ลูกจึงต้องไปหาความอบอุ่นจากข้างนอกจากคนอื่น หาความรักจากคนอื่น บางรายก็ไม่ได้เกิดจากครอบครัวแต่เกิดจากการถูกข่มขืนเพราะว่าจากข้อมูลจากโรงพยาบาลพบว่าวัยรุ่นที่ท้องส่วนใหญ่เกิดจากการถูกข่มขืนและที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือเขาติดเชื้อด้วย จากข้อมูลตรงนี้ได้เห็นถึงปัญหาสังคมได้ว่า บางครั้งวัยรุ่นไม่ใช่เด็กใจแตก แต่ที่เป็นแบบนี้อาจจะเกิดจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้
และจากการที่ได้ไปศึกษา คุณแม่วัยรุ่น คุณพ่อวัยรุ่น ทำให้รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมถึงตั้งท้องก่อนวัยอันควร ซึ่งไม่ได้มีแค่ปัจจัยเดียวมันมีหลายสาเหตุหลายปัจจัย ทั้งเรื่องครอบครัวสิ่งแวดล้อม การแก้ไขตั้งแต่แรกน่าจะเริ่มจากครอบครัว ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่สำคัญเด็กจะดีได้ต้องเริ่มจากครอบครัว บางครั้งผู้ใหญ่ก็ไม่เข้าใจเด็ก ไม่ดูแล บางครั้งความต้องการของเด็กผู้ใหญ่อาจจะไม่เข้าใจ อย่าตามใจลูกมากเกินไป ไม่ควรปิดกั้นมากเกินไป พอเกิดปัญหาเด็กก็จะหาทางออกในทางที่ผิด ออกไปหาเพื่อนที่ไม่ดี เสพยาเสพติด “การที่เราจะสอนเด็กเราควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน ไม่ควรเอาเด็กไปเปรียบเทียบเพราะจะสร้างความเก็บกดให้เด็ก”
อยากให้สังคมเปิดโอกาสยอมรับความคิดเห็นแล้วก็อยากจะให้เปิดโอกาสโดยให้แบบสุดๆ เลยเพราะบางครั้งสังคมเปิดโอกาสให้แต่ก็มีข้อบังคับอยู่ซึ่งบางครั้งเยาวชนอาจจะไม่พอใจอย่างที่สังคมเปิดโอกาสให้ อย่างเช่น สังคมเปิดโอกาสให้แต่ก็ต้องมีขอบเขตความคิดของเยาวชนเพราะว่าบางอย่างที่เยาวชนหรือเยาวชนหรือเยาวชนมองอาจจะเป็นที่ผู้ใหญ่หรือสังคมมองข้ามก็คือถ้าจะเปิดโอกาสให้ก็ต้องปล่อยให้เยาวชนคิดเองไม่ต้องจำกัดที่ว่าเขาต้องมีขอบเขตแค่นี้หรือว่าจะต้องทำอย่างไหน อย่างนี้ควรจะเปิดโอกาสให้เต็มที่ ถ้าบางครั้งเขาโอกาสให้ก็อยากจะให้เป็นโครงการระยะยาวและมีความต่อเนื่อง
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment