Friday, April 20, 2012

สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี 2554

สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศไทย ปี 2554
            จากรายงานสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ ของประเทศไทย ในปี 2554 สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2555  พบว่าจากผลการจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,279 ชุด ใน 4 ภาค 14 จังหวัด สำหรับจัดทำรายงานสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2554 พบว่า
            ๑. มิติที่อยู่อาศัย คือ การที่บุคคลมีความ สามารถพึ่งตนเองได้ในเรื่องที่อยู่อาศัย มีที่อยู่อาศัยเป็น หลักแหล่ง แน่นอน ที่อยู่อาศัยมีความมั่นคงแข็งแรง อยู่ในระดับ ร้อยละ 94.1 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 96.0)
             ๒. มิติสุขภาพ หมายถึง การที่บุคคลมีสุขภาพ กายใจแข็งแรง ไม่มีโรคร้ายแรง หรือโรคเรื้อรังเบียดเบียน มีความรู้ พื้นฐานในการดูแลสุขภาพ และมีพฤติกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่ ตลอดเวลา อยู่ในระดับร้อยละ 83.1 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 83.9)

             ๓. มิติอาหาร หมายถึง การที่บุคคลมีความพอประมาณความรู้ในการบริโภค มีคุณธรรมในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย อยู่ในระดับร้อยละ 94.7 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 96.2)
            ๔. มิติการศึกษา หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้จากการศึกษา ได้รับโอกาสในการศึกษาต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน  อยู่ในระดับร้อยละ 85.0 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 88.6)
            ๕. มิติการมีงานทำและมีรายได้ หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้ ความสามารถในอาชีพการงาน รู้จักใช้จ่ายอย่างพอประมาณ มีการเก็บออมและไม่มีปัญหา หนี้สิน รวมทั้งมีความสุขกับงานที่ทำ อยู่ในระดับร้อยละ 64.8 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 76.2)

            ๖. มิติครอบครัว หมายถึง การที่บุคคลสามารถทำบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม มีการทำกิจกรรมส่งเสริมให้ครอบครัวเข้มแข็ง อยู่ในระดับร้อยละ 78.9 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 87.8)
            ๗. มิติชุมชนและการสนับสนุนทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลมีคุณธรรม เสียสละทำความดีเพื่อส่วนรวม มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน มีพลังอำนาจในการต่อรองกับภายนอก อยู่ในระดับร้อยละ 46.2 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 77.7)
            ๘. มิติศาสนาและวัฒนธรรม หมายถึง การที่บุคคลมีการปฏิบัติตามคำสั่งสอนในศาสนาที่ตนเอง ยึดถือ มีการปกป้องรักษา ประเพณีวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ ที่ตนเองคงอยู่ อยู่ในระดับร้อยละ 78.5 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 83.4)
            ๙. มิติความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หมายถึง การที่บุคคลมีความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่มีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอยู่ในระดับร้อยละ 82.3 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 78.3)
           ๑๐. มิติสิทธิและความเป็นธรรม หมายถึง การที่บุคคลมีการปฏิบัติ ต่อกันอย่างเสมอภาค มีความรู้ที่จะรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง อยู่ในระดับร้อยละ 94.2 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 93.7)
           ๑๑. มิติการเมือง หมายถึง การที่บุคคลมีเหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง และมีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวม อยู่ในระดับร้อยละ 50.1 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 55.3)
          ๑๒. มิติสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร พลังงาน หมายถึง การที่บุคคลมีที่อยู่อาศัย ที่ทำงานที่ปลอดมลภาวะ มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด รู้ถึงคุณค่า และเข้าร่วมในกิจกรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อ ม ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน อยู่ในระดับร้อยละ 84.4 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 85.9)
           ๑๓. ความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมของประเทศไทยปี 2554  อยู่ในระดับร้อยละ 78.0 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 81.9)
            สรุปผลการศึกษาในปี 2554 พบว่า สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 78.0 ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่มีค่าเท่ากับร้อยละ 81.9  และความมั่นคงของมนุษย์เป็นรายมิติ พบว่า มีความมั่นคงของมนุษย์ 5 มิติ ที่มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1) มิติการมีงานทำและมีรายได้ 2) มิติครอบครัว 3) มิติชุมชนและการสนับสนุนทางสังคม 4)มิติศาสนาและวัฒนธรรม และ 5) มิติการเมือง
ส่วนความมั่นคงของมนุษย์ อีก 7 มิติ พบว่า มีค่าได้มาตรฐานหรือใกล้เคียงกับค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1) มิติสุขภาพ 2)มิติความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3) มิติสิทธิความเป็นธรรม 4) มิติการศึกษา 5) มิติที่อยู่อาศัย 6) มิติอาหาร และ 7) มิติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรพลังงาน


0 ความคิดเห็น:

Post a Comment