สภาพสังคมที่ครอบครัวมีความใกล้ชิดกันน้อยลง
และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ท่าให้เด็กสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ
ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้น
รวมถึงการยอมรับว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องธรรมดา จากผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ
HIV
ในประชากรกลุ่มนักเรียน พบว่า เด็กไทยมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น ในปี
2554 เด็กเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตอนอายุเฉลี่ย 12 ปีและส่วนใหญ่เป็นความสมัครใจ
แต่กว่าร้อยละ 50 ไม่มีการปูองกัน โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนหญิงชั้น ม.2 พบว่า
มีการใช้ถุงยางอนามัยในระดับต่ำและมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 50 ในปี 2550 เป็นร้อยละ
48.9 ในปี 2553 และเหลือเพียงร้อยละ 44.9 ในปี 2554 ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กขาดความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
ขณะที่การเข้าถึงสื่อลามกสามารถท่าได้ง่ายผลักดันให้วัยรุ่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศมากขึ้น
ขณะที่การเข้าถึงแหล่งความรู้เกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ยังมีน้อย
ส่งผลให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรซึ่งจะน่าไปสู่การท่าแท้งและการทอดทิ้ง
เด็กทารกเนื่องจากไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดู
ซึ่งล้วนเป็นประเด็นที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นไทยในช่วง
5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2554 มีค่าสูงกว่าร้อยละ 10 ซึ่งเป็นเกณฑ์เฝ้าระวังขององค์การอนามัยโลก
และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด ทั้งในกลุ่มแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี
และแม่วัยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยในปี 2554 มีแม่อายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน
114,001 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 14.32 ของแม่ทุกอายุ แบ่งเป็นแม่อายุ 15-19 ปี จำนวน
110,325 คน และแม่วัยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 3,676 คน ซึ่งในจำนวนนี้พบว่า
มีแม่อายุน้อยที่สุด 8 ปี ในขณะที่พ่ออายุน้อยที่สุด 10 ปี
การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมนับเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่จะตามมาอีกมากมาย
ไม่ว่าจะเป็น
1.
คุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นและเด็ก
การตั้งครรภ์ในวัยเรียนท่าให้แม่วัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องออกจากโรงเรียนแม้ว่าเมื่อเดือนธันวาคม
2553 คณะรัฐมนตรีจะมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ ซึ่งกำหนดให้สถานศึกษาที่มีหญิงตั้งครรภ์อยู่ระหว่างศึกษา
ต้องอนุญาตให้หญิงมีครรภ์ศึกษาต่อในระหว่างตั้งครรภ์
หรือลาพักและกลับไปศึกษาต่อภายหลังคลอดบุตรแล้วได้ แต่เนื่องจาก
พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่มีการบังคับใช้ ท่าให้เด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ต้องออกจากระบบการศึกษา
ด้วยเหตุผลว่าเป็นพฤติกรรมที่ท่าให้โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียง
ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ขาดโอกาสที่จะมีงานท่าที่มั่นคงเพื่อมีรายได้มาเลี้ยงดูตนเองและลูกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ การตั้งครรภ์ของแม่วัยเด็กที่สรีระร่างกายยังไม่พร้อมที่จะมีลูก
ส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีโอกาสที่จะพิการ มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีพัฒนาการต่างๆ
ช้ากว่าเด็กทั่วไปสูง
และมักไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่เหมาะสมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ
ท่าให้มีความเสี่ยงที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และประสบปัญหาเช่นเดียวกับผู้เป็นแม่จนกลายเป็นวงจรของปัญหาที่ไม่สิ้นสุด
(2) การทาแท้ง
จากข้อมูลการเฝ้าระวังการแท้งในประเทศไทย ปี 2554 โดยเก็บข้อมูลในสถานบริการสาธารณสุขทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
พบว่า ผู้ที่ท่าแท้ง ร้อยละ 56 มีอายต่ำกว่า 25 ปี โดยเป็นกลุ่มอายุ 15-19 ปีมากที่สุด ร้อยละ 30.4
กำลังศึกษาอยู่ และร้อยละ 45 ยังไม่มีรายได้
นอกจากนี้ ยังพบว่าในกลุ่มผู้ท่าแท้งอายุต่ำกว่า 19 ปี กว่า
ร้อยละ 60 ไม่มีการคุมกำเนิด
ซึ่งเป็นสาเหตุน่าไปสู่การตัดสินใจท่าแท้ง ทั้งนี้ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่นของโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ประมาณการว่ามีวัยรุ่นท่าแท้งถึงปีละประมาณ
3 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นการท่าแท้งที่ไม่ปลอดภัย
โดยการซื้อยามารับประทานหรือสอดยาทางช่องคลอด และการใช้บริการคลินิกเถื่อน
ท่าให้มีโอกาสที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต ขณะที่กฎหมายอนุญาตให้แพทย์ท่าแท้งได้เฉพาะกรณีเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตหรือสุขภาพของมารดา
และในกรณีที่การตั้งครรภ์เกิดขึ้นจากการถูกข่มขืนหรือกระทำช้ำเราเท่านั้น
ซึ่งเป็นข้อจ่ากัดอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้วัยรุ่นตัดสินใจท่าแท้งที่ไม่ปลอดภัยหรือท่าแท้งเถื่อน
(3) การทอดทิ้งเด็ก
จากรายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนประจ่าปี 2553 ของส่านักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
พบว่า ประเทศไทยมีเด็กกำพร้าถูกทอดทิ้งถึง 88,730 คน
ส่วนใหญ่เป็นการถูกทอดทิ้งตามโรงพยาบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก และที่สาธารณะ
โดยมีสาเหตุจากแม่ที่อยู่ในวัยเรียนและแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้
สอดคล้องกับข้อมูลของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไทที่ต้องรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งเข้ามาเลี้ยงประมาณ
45 คนต่อเดือน โดยร้อยละ 80 ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ
และจังหวัดในภาคกลาง และอีกร้อยละ 20 รับตัวมาจากตำรวจหรือกลุ่มที่พ่อแม่ทิ้งไว้กับคนรับจ้างและสถานที่สาธารณะ
ซึ่งเด็กที่ถูกทิ้งส่วนใหญ่เกิดจากแม่ที่เป็นวัยรุ่นโดยเฉพาะนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบ
สาวโรงงานที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ และกลุ่มวัยรุ่นที่ติดยาเสพติด
การให้ความช่วยเหลือให้เด็กได้รับการพัฒนาตามวัยอย่างเหมาะสมทั้งด้านสุขภาพ
การศึกษา และการเข้าสังคม
พร้อมทั้งส่งเสริมให้เด็กได้รับความรักความอบอุ่นที่แท้จริงจากครอบครัวทดแทนที่จะเข้ามาอุปการะเลี้ยงดู
จะช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ และไม่เป็นภาระต่อสังคม
ส่าหรับแนวทางในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นเพื่อตัดวงจรการท่าแท้งและการทอดทิ้งเด็กนั้น
ในระยะสั้น ควรให้ความสำคัญกับการปรับระบบการให้บริการในลักษณะครบวงจร (One
Stop Service Center) ส่าหรับให้บริการและส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพ
โดยให้โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบลเป็นหน่วยรับเหตุ ประสานแจ้งเหตุให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดในฐานะหน่วยประสานครบวงจรร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการปรึกษาทางเลือก
ตัดสินทางเลือก และส่งต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ
ให้ด่าเนินการตามขั้นตอนและหน้าที่ความรับผิดชอบ และรายงานผลกลับไปยังศูนย์ครบวงจร
เพื่อติดตามประเมินสถานะ ปรับเปลี่ยนการให้บริการและการปูองปรามไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
ส่าหรับ ในระยะยาว ต้องเน้นการปูองกัน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัวอบอุ่น
ปลูกฝังค่านิยมที่ดีตั้งแต่วัยเด็กเสริมสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศ
และให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ เพศศึกษา ทักษะชีวิต
การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดขณะเดียวกัน
สังคมต้องให้โอกาสเด็กกลุ่มนี้ได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาเพื่อจะได้มีความรู้น่าไปประกอบอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนอกจากนี้
ควรเร่งผลักดันการบังคับใช้ พ.ร.บ.อนามัยการเจริญพันธุ์เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้รับการคุ้มครองและเข้าถึงบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
ที่มา: ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2555, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กุมภาพันธ์ 2556
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment