Wednesday, September 2, 2009

พฤติกรรมเสี่ยงเด็กไทย 51 ตอน 2

รายงานพฤติกรรมเสี่ยงเด็กไทย 2551 ศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงเด็กไทยในพื้นที่ 75 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจข้อมูลจากเด็กอายุ 13-18 ปี (ม.1-ม.6) จังหวัดละ 800 ตัวอย่าง ในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภออื่น ๆ จำนวนทั้งสิ้น 87,212 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2551 โดยศึกษาพฤติกรรมเด็ก 7 ด้าน คือ ด้านการเรียน ด้านการดูแลสุขภาพ ด้านความรุนแรงและความปลอดภัย ด้านสุขภาพใจ ด้านการบริโภค บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแฮลกอฮอร์และสิ่งเสพติด ด้านความรักและพฤติกรรมทางเพศ และด้านการใช้เวลาว่างและการบันเทิง โดยมีรายงานผลการศึกษา ด้านพฤติกรรมความรุนแรงและความปลอดภัย ด้านสุขภาพใน และด้านการบริโคบุหรี่ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ โดยสรุป ดังนี้
พฤติกรรมด้านความรุนแรงและความปลอดภัย ผลการศึกษา การถูกทำร้ายร่างกายจากบุคคลในครอบครัว พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 82.4) ระบุว่าไม่เคยถูกทำร้ายร่างกาย รองลงมาร้อยละ 10.7 ระบุว่า ถูกทำร้าย 1-2 ครั้ง และถูกทำร้ายมากกว่า 10 ครั้ง ร้อยละ 1.0 โดยสาเหตุที่ถูกทำร้าย กลุ่มใหญ่ (ร้อยละ 10.7) ระบุว่าระบุว่าเกิดจากความขัดแย้งไม่เข้าใจกัน รองลงมาระบุว่า เกิดจากการลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ร้อยละ 3.5 ส่วนการทะเลาะวิวาทอย่างรุนแรง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.9 ระบุว่า ไม่เคยมีการทะเลาะวิวาท ส่วนกลุ่มที่มีการทะเลาะวิวาท ระบุว่า ระบุว่ามีการทะเลาะวิวาท 1-2 ครั้ง ร้อยละ 15.1 และมากกว่า 10 ครั้ง ร้อยละ 0.3 ส่วนการถูกขโมยหรือชิงทรัพย์สิน พบว่า ร้อยละ 31.1 (จำนวน 26,995 คน) ระบุว่าถูกขโมยหรือชิงทรัพย์สิน โดยถูกขโมยหรือชิงทรัพย์สิน 1-2 ถึงร้อยละ 21.9 และมากกว่า 10 ครั้ง ร้อยละ 2.2 ในด้านการพกพาอาวุธไปโรงเรียน ในรอบ 1 เดือน (ก่อนการสำรวจ) พบว่า มีการพกพาอาวุธไปโรงเรียน ร้อยละ 12.8 และด้านความรู้สึกปลอดภัยโดยรวมของชีวิตประจำวัน พบว่า ส่วนมาก (ร้อยละ 74.3) ระบุว่า รู้สึกปลอดภัยในชีวิตประจำวัน และร้อยละ 23.9 ระบุว่า ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
พฤติกรรมด้านสุขภาพใจ ผลการศึกษา พบว่า การประเมินคุณค่าของตนเองต่อพ่อแม่และครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนมาก (ร้อยละ 76.1) ระบุว่า ตนเองมีคุณค่าต่อพ่อแม่และครอบครัว โดยที่ร้อยละ 4.2 ระบุว่าไม่มีคุณค่าเลย โดยสาเหตุของความเครียดของตัวอย่าง พบว่า กลุ่มใหญ่ (ร้อยละ 48.8) ระบุว่า สาเหตุจากการเรียน รองลงมา ร้อยละ 9.5 ระบุว่า สาเหตุจากครอบครัว ร้อยละ 7.0 ระบุว่า สาเหตุจากแฟน หรือคนรัก และ ร้อยละ 5.5 ระบุว่า สาเหตุจากเพื่อน ส่วนอาการซึมเศร้า เบื่อหน่ายต่อเนื่องจนต้องหยุดทำกิจกรรมที่เคยทำปกติ พบว่า ร้อยละ 39.9 ระบุว่ารู้สึกซึมเศร้าและต้องหยุดทำกิจกรรมที่เคยทำปกติ โดยสาเหตุการซึมเศร้าจนต้องหยุดกิจกรรมปกติ พบว่า กลุ่มใหญ่ ร้อยละ 22.6 ระบุว่า เกิดจากการเรียน รองลงมา ร้อยละ 7.6 ระบุว่า สาเหตุจากครอบครัว และ สาเหตุจากสิ้นหวังในตนเอง จากคนรัก และเพื่อน ร้อยละ 6.2, 6.1 และ 6.8 ตามลำดับ ส่วนสาเหตุของการคิดฆ่าตัวตาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมากสุดระบุว่า เกิดจากคนในครอบครัว (ร้อยละ 7) รองลงมาเกิดจากการเรียน (ร้อยละ 6.4) และเกิดจากเพื่อน ร้อยละ 1.6
พฤติกรรมด้านการบริโภคบุหรี่ เครื่องดื่มมีแฮลกอฮอล์ และสิ่งเสพติด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมากที่สุด ระบุว่า เริ่มสูบบุหรี่ ครั้งแรกมีอายุน้อยกว่า 14 ปี (ร้อยละ 2.1) และช่วงอายุ 14,15,6, 17,18 ปี ร้อยละ 2.0, 2.0, 0.8, 0.4 และ 0.1 ตามลำดับ โดยกลุ่มสูบบุหรี่ ระบุว่า ในรอบ 1 เดือน กลุ่มใหญ่ระบุว่า สูบ 1-10 มวนต่อวัน (ร้อยละ 5.0) รองลงมา สูบบุหรี่เกิน 20 มวนต่อวัน ร้อยละ 4.8 และสูบ 11-20 มวนต่อวัน ร้อยละ 0.7 โดยที่การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พบว่า กลุ่มใหญ่ ร้อยละ 4.8 ระบุว่า ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ครั้งแรก อายุ 15 ปี รองลงมา เมื่ออายุ 14 ปี ร้อยละ 4.1 และน้อยกว่า 14 ปี ร้อยละ 3.7 ตามลำดับ โดยที่อัตราความถี่ในการดื่มในรอบ 1 เดือน พบว่า ร้อยละ 9.6 ระบุว่า ดื่มเพียง 1-2 วัน รองลงมา ดื่ม 3-5 วัน และทุกวัน ร้อยละ 9.6, 2.1 ตามลำดับ ด้านการเสพสิ่งเสพติดครั้งแรก พบว่าเสพครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 15 ปี ร้อยละ 0.6 อายุ 14 ปี ร้อยละ 0.5 และน้อยกว่า 14 ปี ร้อยละ 0.5 ตามลำดับ โดยระบุแหล่งที่มาของสิ่งเสพติด กลุ่มตัวอย่างระบุว่า ได้จากเพื่อนสนิทที่อื่นไม่ใช่ที่โรงเรียน ร้อยละ 2.7 และจากเพื่อนสนิทที่โรงเรียน ร้อยละ 2.0 และ จากผู้ค้าหรือชาวบ้าน คนในครอบครัว ครู และเจ้าหน้าของรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.4, 0.3, 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ
โดย.....อาสาเฝ้าระวังทางสังคม

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment