Friday, September 11, 2009

สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดลำปาง 51 ตอน 2

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง ได้รายงาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดประเด็นปัญหาสังคมของจังหวัดลำปาง ภายใต้โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาสังคมของแต่ละจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 โดยใช้แบบสำรวจ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 104 แห่ง หน่วยงานด้านการพัฒนาสังคม จำนวน 32 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบสถานการณ์ปัญหาสังคมที่สำคัญ และเพื่อพัฒนาสังคม และจัดสวัสดิการสังคมของท้องถิ่น โดยมีข้อค้นพบสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดลำปางในปี 2551 ด้านการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมของท้องถิ่น จากรายงานสถานการณ์ปัญหาของท้องถิ่น ประกอบด้วย ปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมาย ปัญหาสังคมเชิงประเด็น ดังนี้ (ที่มา : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง, 2551)
ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง ทั้งหมด 104 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามจานวน 3 ชุด คือ อปท. 1 อปท. 2 และ อปท. 3 พบว่า ประชากรรวมทั้งหมดในท้องถิ่นจังหวัดลำปาง จำนวน 761,490 คน ชายร้อยละ 49.28 และหญิง 50.72 และมีข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมของท้องถิ่น จากการรายงานสถานการณ์ปัญหาของท้องถิ่น มีดังนี้
1) ปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมาย มีระดับปัญหาจากมากไปน้อยและต่อเนื่องกัน ได้แก่ ปัญหาครอบครัว ผู้สูงอายุ สตรี เด็ก และเยาวชน คิดเป็นร้อยละ 34.2, 30.6, 15.5, 12.0 และ 7.1 ตามลำดับ ซึ่งปัญหาที่สำคัญของครอบครัว คือ เรื่องรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. (ร้อยละ 93.14) และปัญหาขาดผู้นำครอบครัว (ร้อยละ 6.86) ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังปัญหาอื่นโดยลำดับ คือ ผู้สูงอายุยากจน และไม่มีคนดูแล สตรีไม่มีอาชีพหรือรายได้ และสตรีที่ถูกสามีทอดทิ้งเป็นหม้ายที่ต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรเพียงลาพัง และปัญหาเด็กยากจนไม่ได้รับทุการศึกษา จึงไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับ ก่อให้เกิดเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สืบเนื่องไปถึงเมื่อเข้าสู่ความเป็นเยาวชนก็มีปัญหาติดเหล้า บุหรี่ และขาดทุนการศึกษาต่อ
2)ปัญหาสังคมเชิงประเด็นต่อความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบด้วยปัญหาที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย การศึกษา การมีงานทำและรายได้ ความมั่นคงส่วนบุคคล ปัญหาครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม สิทธิความเป็นธรรมและการเมือง คือ
ปัญหาที่อยู่อาศัย ในสภาพที่ไม่มีน้ำประปาเพราะอาศัยในพื้นที่สาธารณะ (4,498 ครอบครัว) จึงมีสภาพที่อยู่อาศัยที่ไม่คงทนถาวร (867 ครอบครัว) มีสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม (787 ครอบครัว) และไม่มีไฟฟ้าใช้ (607 ครอบครัว) และปัญหาที่อยู่อาศัยไม่มีทางเข้าออกที่สะดวก (153 ครอบครัว)
ปัญหาสุขภาพอนามัย จำนวน 3,648 คน คือ ปัญหาสุขภาพที่ไม่แข็งแรงและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (ร้อยละ 36.84) ผู้ป่วยโรคเอดส์ (ร้อยละ 26.15) และมีผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ (ร้อยละ 14.56)
ปัญหาการ ศึกษา มีจำนวน 3,115 คน คือ ผู้ที่จบแล้วไม่มีงานทำ (ร้อยละ 34.96) มีงานทำแต่ไม่ได้รับค่าจ้างตามคุณวุฒิ (ร้อยละ 22.25) อีกส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาต่ำกว่าภาคบังคับ (ร้อยละ 34.22) และเรียนไม่จบต้องออกจากการศึกษากลางคัน (ร้อยละ 2.57)
ปัญหาการมีงานทำและรายได้ จำนวน 26,396 คน คือ การขาดแคลนทุนประกอบอาชีพ (ร้อยละ40.07) ขาดทักษะฝีมือแรงงาน (ร้อยละ 31.05) ซึ่งต่อเนื่องกับปัญหาการไม่ได้รับค่าจ้างตามเกณฑ์ขั้นต่ำ (ร้อยละ 22.72) และว่างงาน (ร้อยละ 6.15)
ปัญหาความมั่นคงส่วนบุคคล ที่พบในท้องถิ่น คือ การถูกประทุษร้ายทั้งทางร่างกาย (106 คน) และถูกประทุษร้ายทรัพย์สิน (102 คน)
ปัญหาครอบครัว จำนวน 1,125 ครอบครัว ที่สำคัญสูงสุด คือ ครอบครัวไม่มีเวลาเอาใจใส่บุพการีและผู้สูงอายุ (ร้อยละ 43.47) ครอบครัวมีปัญหาหย่าร้าง (ร้อยละ 36.71) ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาคือ การไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนบุตรหลาน (ร้อยละ 10.40) และครอบครัวขาดสัมพันธภาพที่ดี (ร้อยละ 9.42)
ปัญหาการสนับสนุนทางสังคม คือ จำนวนครัวเรือนที่มีคนเป็นสมาชิกกลุ่มที่ได้ตั้งขึ้นในหมู่บ้านชุมชน มากถึง 62,598 ครัวเรือน และในการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะของหมู่บ้าน/ชุมชน ก็มีจำนวนมากถึง 114,624 ครัวเรือน ในเขตพื้นที่อปท.ทั้งหมดมีหมู่บ้านที่มีศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจาหมู่บ้าน 354 หมู่บ้าน และมีกองทุนสวัสดิการที่เข้มแข็ง 317 หมู่บ้าน แต่อย่างไรก็ดี มีการรายงานจานวนประชาชนที่ถูกทอดทิ้งในท้องถิ่นจังหวัดลำปางรวม 66 คน
ส่วนปัญหาสิทธิและความเป็นธรรม ส่วนใหญ่ร้อยละ 94.3 ยังคงเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแล และผู้พิการยังไม่ได้รับการจดทะเบียน
ปัญหาการเมืองและธรรมาภิบาล จากการร้องเรียนที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน จำนวน 36 เรื่อง
อาสาเฝ้าระวังทางสังคม

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment