Friday, January 29, 2010

การ์ตูนทีวี : พื้นที่สื่อ พื้นที่เสี่ยงของเด็กไทย

รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน :การ์ตูนโทรทัศน์ : พื้นที่สื่อ พื้นที่เสี่ยงของเด็กไทย เพราะอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องของการ์ตูนที่แพร่ภาพอยู่ในรายการโทรทัศน์ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะ (มีเดียมอนิเตอร์) เลยทำการสำรวจ
เริ่มจากการเฝ้าดูฟรีทีวีที่แพร่ภาพในเดือนตุลาคมที่ผานมา ผลที่ได้คือในเดือนนี้มีการ์ตูน 35 เรื่องออกอากาศ ใช้เวลาแพร่ภาพทั้งหมด 1,052 นาทีต่อสัปดาห์ เฉลี่ยแล้วเท่ากับใช้เวลา 1.74% ของรายการโทรทัศน์ทั้งหมดรวมกัน และในส่วนเนื้อหาที่แพร่ภาพนั้นพบว่าเกือบทั้งหมดมีความรุนแรงต่อร่างกาย จิตใจและวัตถุ มีการใช้ภาษาลามก หยาบโลน รวมถึงมีเรื่องเพศอยู่ในแทบทุกเรื่อง พูดให้ชัดลงไปกว่านั้นคือมีการ์ตูนเพียง 3 เรื่องเท่านั้นที่เหมาะกับเด็กก่อนวัยเรียน หรือมีช่วงอายุ 3-6 ขวบ
ข้อสรุปจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "รายการการ์ตูนเด็กในฟรีทีวี (ช่อง 3, 5, 7, 9, NBT และ TPBS)" ที่จัดขึ้นโดยมีอาจารย์และนักศึกษาจาก ม.นเรศวร, ม.ธุรกิจบัณฑิต, ม.วลัยลักษณ์, ม.เชียงใหม่, ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ม.มหาสารคาม, ม.ราชภัฏจันทรเกษม และ ม.ราชภัฏสวนดุสิต รวมถึงเครือข่ายองค์กรด้านเด็กอย่างกลุ่มระบัดใบ จากระนอง, โครงการบริโภคสร้างสรรค์ สุราษฎร์ธานี, กลุ่มไม้ขีดไฟ นครราชสีมา, เครือข่ายเด็กและเยาวชน บุรีรัมย์ และศูนย์ประสานงานสำนักข่าวเด็ก พะเยา เข้าร่วมเพื่อศึกษาเนื้อหาและค่านิยมที่ปรากฏในรายการการ์ตูนเด็กเมื่อเร็วๆ นี้ มีว่าการ์ตูนโทรทัศน์ไทยให้ความสำคัญในการวางโครงเรื่องน้อยมาก บางเรื่องเนื้อหาไม่สอดคล้องกับแก่นเรื่อง บางเรื่องให้ความสำคัญกับประเด็นปลีกย่อยมากกว่าการดำเนินเรื่อง เช่น การ์ตูนที่เกี่ยวกับวรรณคดีไทยจะให้ความสำคัญกับเรื่องความรัก
ที่มาข่าว: หนังสือพิมพ์มติชน, ภาพ: จากเวปไซด์

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment