Wednesday, August 19, 2009

สถานการณ์เด็กและเยาวชน (2)

สถานการเด็กและเยาวชน ตอน ๒
การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่า ไม่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๗ และระบุว่า เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ จำนวน ๘๙ ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ ๗.๔ โดยระบุว่าไม่แนใจร้อยละ ๗.๖ ไม่ขอตอบ ร้อยละ ๖.๑ การมีเพศสัมพันธ์ของเด็กอายุ ๑๓-๒๕ ปี พบว่า เพศหญิงมีเพศสัมพันธ์มากกว่า เพศชาย ซึ่งเกิดจากการเจริญเติบโตทางกายภาพของเด็กผู้หญิง และเด็กที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจะมีเพศสัมพันธ์มากกว่าเด็กที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และยังพบอีกว่า การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คนรัก/แฟน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มใหญ่ระบุว่า มีคนรักและมีความสัมพันธ์กับคนรักในระดับมีเพศสัมพันธ์กัน คิดเป็นร้อยละ ๓.๘ และพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กและเยาวชนผู้ให้ข้อมูลระบุว่า การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คนรัก/แฟน โดยมีระดับการมีความสัมพันธ์ตั้ง ๑-๒ ครั้ง ถึง มากกว่า ๑๐ ครั้ง ระบุว่า มีเพศสัมพันธ์ระหว่าง ๑-๒ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๑.๘ รองลงมา มากกว่า ๑๐ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๑.๓ ระดับ ๓-๕ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๐.๖ และ ๖-๑๐ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๐.๒ ตามลำดับ ในขณะที่ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของเด็กช่วงอายุ ๑๓-๒๕ ปี พบว่า ร้อยละ ๘๐ ไม่ขอตอบ ร้อยละ ๕.๖ ระบุว่า ไม่เคยเลย โดยที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก กลุ่มใหญ่ระบุว่า มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุ ๑๔ ปี คิดเป็นร้อยละ ๐.๙ รองลงมา เมื่อายุ ๑๕ ปี, ๑๓ ปี, ๑๖ ปี และ ๑๗ ปี คิดเป็นร้อยละ ๐.๘, ๐.๖, ๐.๕ และ ๐.๓ ตามลำดับ รวมทั้งพฤติการการป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ของผู้ให้ข้อมูล พบว่า กลุ่มใหญ่มีการป้องกันตนเองด้วยการใช้ถุงยางอนามัย คิดเป็นร้อยละ ๓.๗ รองลงมา ระบุว่า ไม่มีการป้องกันเลย การหลังภายนอก และใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด โดยคิดเป็นร้อยละ ๒.๕, ๑.๑ และ ๐.๘ ตามลำดับ
จากข้อมูลดังกล่าว กล่าวได้ว่า เด็กช่วงอายุ ๑๓-๒๕ ปี จำนวน ๔๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๘ ได้มีพฤติกรรมมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ที่ถือเป็นพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของสังคมจังหวัดเชียงใหม่ สังคมภาคเหนือ และสังคมไทย และผลการมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งอยู่ในวัยกำลังศึกษาอยู่ด้วยกัน อาจมีปัญหาท้องและมีบุตรโดยไม่ตั้งใจ หรือไม่มีความพร้อม ซึ่งจากข้อมูลสถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข ปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๐ ระบุว่า สถิติการคลอดบุตรของเด็กอายุ ๑๐-๑๕ ปี ทั่วประเทศ มีจำนวน ๕,๗๑๑ คน, ๖,๐๒๓ คน, ๕,๗๑๑ คน, ๘,๕๗๔ คน, ๙,๔๓๐ คน ๙,๕๐๕ คน และ ๙,๙๖๑ คน ตามลำดับ (ศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม, ๒๕๕๑)
พฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของเด็กที่มีท้อง ที่ไม่อาจไปเรียนหนังสือ หรือเมื่อคลอดบุตรแล้ว ก็ไม่มีความสามารถในการดูแลเลี้ยงดูได้ อาจต้องเป็นภาระให้กับสังคม หรือพ่อแม่ เป็นผู้รับภาระการเลี้ยงดู ทำให้เด็กเติบโตอย่างไม่มีคุณภาพที่เหมาะสม และพ่อแม่วัยเด็กก็ต้องออกจากโรงเรียน ก่อนจบการศึกษา และจากรายงานยังพบว่าการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มเด็กดังกล่าวมีเพศสัมพันธ์คนที่ไม่ใช่คนรัก หรือแฟน รวมทั้งมีจำนวน ๓๐ คน ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันตนเองเมื่อมีเพศสัมพันธ์ อันเป็นเหตุที่จะส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย อาจจะมีปัญหาการติดโรคจากเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ กามโรค เป็นต้นได้ ซึ่งลำดับความรุนแรงของปัญหาจากข้อค้นพบ คือ ลำดับความรุนแรงอันดับ ๑ คือ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์มีอายุต่ำกว่า ๑๔ ปี ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และเป็นปัญหาของครอบครัว ชุมชน โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ รองลงมา เป็นปัญหาการมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คนรักหรือแฟน ซึ่งถือเป็นปัญหารองลงมา ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งในส่วนบุคคล (ตัวเด็กและเยาวชน) ครอบครัว และชุมชน ดังนี้
ผลกระทบต่อ ตัวเด็กและเยาวชนเอง ในระยะสั้น จะมีปัญหาที่ส่งผลต่อการศึกษา ทำให้ไม่สามารถเรียนให้จบครอบหลักสูตรได้ ต้องออกจากโรงเรียน ทำให้ขาดโอกาสในการศึกษาเล่าเรียน ในระยะยาว จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งหากมีท้อง อาจมีปัญหาการทำแท้ง หรือเป็นพ่อ แม่ อายุยังน้อย ทั้งที่ไม่มีรายได้ ไม่มีงานทำเป็นต้น
ผลกระทบต่อครอบครัวและเครือญาติ ในระยะสั้น ครอบครัว พ่อแม่ ต้องรับภาระหนักในการที่ต้องดูแล มากขึ้น หรือถ้ามีท้องก็มีปัญหาการคอยดูแลตัวเด็ก และวางแผนการมีบุตรของเด็ก ที่อยู่ในวัยที่ไม่พร้อมในการเป็นพ่อ แม่ รวมทั้งไม่เป็นที่ยอมรับของครอบครัวและเครือญาติ ทำให้กลายเป็นคนแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้อง เป็นต้น ผลกระทบต่อชุมชน ทำให้เกิดค่านิยมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมในชุมชน ถ้ามีเด็กและเยาวชนเริ่มมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์เสรี ซึ่งไม่เป็นที่พึงประสงค์ของชุมชน ด้วยขัดต่อธรรมเนียม ประเพณีการรักนวลสงวนตัว และมีครอบครัวเมื่อมีวัยอันควร เป็นต้น (คลิดเพื่อดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มท่ี่นี่)
อาสาสมัครเฝ้าระวังเตือนภัยทางสังคม

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment