Wednesday, September 15, 2010

ผลการสำรวจคุณภาพชีวิตแม่วัยเยาว์

ผลการสำรวจคุณภาพชีวิตแม่วัยเยาว์ จากการสำรวจคุณภาพชีวิตของแม่วัยเยาว์ โดยเก็บข้อมูลจากหญิงผู้ที่มีบุตรก่อนอายุครบ 18 ปี จำนวน 823 คน และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับแม่วัยเยาว์ จำนวน 822 คน (สามี พ่อ แม่ ญาติ ผู้ปกครอง) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก อุดรธานี ขอนแก่น เลย สมุทรสาคร ราชบุรี ปทุมธานี สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ภูมิหลังของผู้ให้ข้อมูล (แม่วัยเยาว์) พบว่า ระดับการศึกษาส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 37.9 ที่เหลือสำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. มัธยมศึกษาตอนปลาย ประถมศึกษา ร้อยละ 19.1, 17.1 และ 11.1 ตามลำดับ โดยที่ไม่ได้เรียนหนังสือเลย ร้อยละ 3.4 ด้านเศรษฐกิจการมีอาชีพการงานที่เป็นแหล่งรายได้ของแม่วัยเยาว์ พบว่า ส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองด้วยการรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 32.10 โดยที่ไม่มีอาชีพและรายได้ ร้อยละ 24.20 และยังคงเป็นนักเรียน นักศึกษา อยู่ ร้อยละ 16.40 โดยที่กลุ่มที่มีอาชีพและรายได้ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 2,501-5,000 บาท ร้อยละ 33.3 รองลงมา เป็น 501-2500 บาท, 5,001-10,000 บาท, น้อยกว่า 500 บาท และมากกว่า 10,001 บาท จำนวน ร้อยละ31.6, 15.8, 14.9, 4.4 ตามลำดับ โดยที่แหล่งที่มาของรายได้ หรือเงินค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมาจากการทำงานของตนเอง ร้อยละ 37.4 รองลงมาเป็นมาจากพ่อ/แม่ของตนเอง, สามี, พ่อ/แม่ของสามี, ญาติ และอื่น ร้อยละ 24.9, 24.8, 5.0, 4.4 และ 3.5 ตามลำดับ สถานภาพการสมรส พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้แต่งงานแต่ใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน ร้อยละ 38.2 รองลงมาเป็น แต่งงานแต่ไม่ได้จดทะเบียน, แต่งงานและจดทะเบียนสมรส, ไม่ได้แต่งงานและแยกกันอยู่ และอื่นๆ ร้อยละ 32.7, 14.0, 14.0 และ 1.2 ตามลำดับ ส่วนอายุของผู้เป็นพ่อของบุตรของแม่วัยเยาว์ ส่วนใหญ่ ช่วงอายุ 21-25 ปี ร้อยละ 32.0 รองลงมาเป็น ช่วงอายุ 25-35 ปี, 18-21 ปี, 15-18 ปี, มากกว่า 35 ปี,ไม่ทราบอายุ และอายุไม่เกิน 15 ปี ร้อยละ 22.4, 21.1, 19.1, 3.5, 1.8 และ 0.1 ตามลำดับ การแสดงความรับผิดชอบของผู้เป็นพ่อของบุตรแม่วัยเยาว์ พบว่า มากกว่าครึ่งให้การดูแลและรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 58.3 รองลงมา ให้การดูแลและรับผิดชอบเป็นครั้งคราว, ไม่รับผิดชอบเลย และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 30.0, 10.1 และ 1.6 ตามลำดับ ส่วนรายละเอียดมากกว่านี้ ติดต่อขอรับรายงานข้อมูลได้ที่ ศูนย์เรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มา: โครงการสำรวจสภาพปัญหาแม่วัยเยาว์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาระบบการช่วยเหลือของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ศูนย์เรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สิงหาคม 2553; ภาพจากอินเตอร์เน็ต

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment