Thursday, January 21, 2010

สถานการณ์คนเร่ร่อน ปี 2551

รายงานผลการสำรวจข้อมูลคนเร่รอนทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2551 สำนักคุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รายงานผลการสำรวจ ดังนี้
ในปี พ.ศ.2551 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยสำนักคุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน ได้จัดทำโครงการสำรวจข้อมูลคนเร่ร่อนทั่วประเทศ สำหรับจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลในการบูรณาการวางแผนพัฒนาศักยภาพและจัดสวัสดิการสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสม ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยได้ดำเนินการสำรวจตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม 2551 สำรวจในพื้นที่เขตชุมชนเมือง กรุงเทพมหานครและภูมิภาค 75 จังหวัด พื้นที่กรุงเทพมหานครดำเนินการสำรวจโดยศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน 12 ศูนย์ ภูมิภาคดำเนินการสำรวจโดยศูนย์พัฒนาสังคมจังหวัด 75 จังหวัด การจัดเก็บข้อมูลใช้แบบสำรวจคนเร่ร่อนไร้บ้าน สำรวจข้อมูลระดับบุคคล ข้อมูลพื้นฐาน ปัญหา ความช่วยเหลือที่ต้องการ ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลสำหรับประมวลผลเพื่อรองรับการทำงานเชิงรุก หน่วยงานและผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ทำงานกับกลุ่มเป้าหมายได้
ผลการสำรวจข้อมูลคนเร่ร่อนทั่วประเทศในปี พ.ศ.2551 ในภาพรวมทั้งประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำรวจพบคนเร่ร่อนมากที่สุดร้อยละ 28.20 รองลงมาได้แก่ภาคเหนือ ร้อยละ 26.50 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 20.20 เมือพิจารณาในรายจังหวัดพบว่า กรุงเทพมหานครสำรวจพบคนเร่ร่อนมากที่สุด ร้อยละ 20.20 รองลงมาจังหวัดขอนแก่น ร้อยละ 7.60 และจังหวัดเชียงราย ร้อยละ 5 เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง กล่าวคือ เพศชายร้อยละ 59.80 เพศหญิง 40.20 อายุที่พบมากที่สุด ช่วงอายุ ระหว่าง 35 ปี – 44 ปี ร้อยละ 18.50 รองลงมา 45 ปี – 54ปี ร้อยละ17.60 และ 55 ปี – 64ปี ร้อยละ 14.10 ระดับการศึกษาพบว่าไม่ได้รับการศึกษามากที่สุดร้อยละ รองลงมาประถมศึกษา ร้อยละ 42.90 และมัธยมศึกษา ร้อยละ 8.70 คนเร่ร่อนที่สำรวจพบว่าเป็นคนไทยสัญชาติไทยมากที่สุดร้อยละ 91.18 เป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ อาข่า ลาหู่ ไทยลื้อ อีก้อ ไทยใหญ่ มูเซอร์ รวมร้อยละ 2.59 พม่าร้อยละ 0.36 กัมพูชา ร้อยละ 0.30 และลาวร้อยละ 0.08 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ร้อยละ 49.20 รองลงมาสมรสและอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 28.30 และเลิกร้างกัน ร้อยละ 14.80 ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 5.05 กรุงเทพมหานครร้อยละ 4.97 และจังหวัดพิจิตร ร้อยละ 4.16 ก่อนที่จะออกมาเร่ร่อนเคยประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด ร้อยละ 35.20 รองลงมาเกษตรกรรม ร้อยละ 10.70 และไม่เคยประกอบอาชีพใดๆ เลย ร้อยละ 3.30 รายได้ที่เคยได้รับจากการประกอบอาชีพเดิมส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 2.82รองลงมา 1,001 บาท – 2,000 บาท ร้อยละ 2.60 และ 2,001 บาท – 3,000 บาท ร้อยละ 2.30 ปัจจุบันประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด ร้อยละ 37.30 รองลงมาเก็บของเก่าขายร้อยละ 7.10 และเกษตรกรรม ร้อยละ 5.60 รายได้เฉลี่ยในปัจจุบันมากที่สุด เดือนละ 5,001 บาท – 6,000 บาท รองลงมา 2,001 บาท – 3,000 บาท ร้อยละ 2.38 และไม่เกิน 1,000 บาท ร้อยละ 2.30 ส่วนใหญ่มีสภาพร่างกายปกติ และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 62.90 ช่วยเหลือตัวเองได้บ้างร้อยละ 34.90 และช่วยเหลือตังเองไม่ได้ ร้อยละ 2.20ส่วนใหญ่ออกมาเร่ร่อนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปร้อยละ 25.82 รองลงมา 1 ปี – 2 ปี ร้อยละ 6.20 และ 5 ปี – 6 ปี ร้อยละ 6.10 สาเหตุที่ออกมาเร่ร่อนเนื่องจากไม่มีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินร้อยละ 26.30 รองลงมามีฐานะยากจน รายได้น้อย ร้อยละ 19.90 และประสบปัญหาครอบครัว ร้อยละ 15.90 ความช่วยเหลือที่ต้องการได้แก่เงินสงเคราะห์ช่วยเหลือมากที่สุดร้อยละ 33.90 รองลงมาบริการด้านสุขภาพ ร้อยละ 14.80 และที่พักชั่วคราว ร้อยละ 7.70 และมีเพียง ร้อยละ 15.60 เท่านั้นที่เคยได้รับบริการ จากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เคยได้รับบริการจากหน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 5.30 รองลงมา เคยได้รับบริการจากหน่วยงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ร้อยละ 4.20 และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยละ 3.30
นอกจากการสำรวจดังกล่าวแล้ว ชุดเฉพาะกิจให้การช่วยเหลือคนเร่ร่อน ของบ้านมิตรไมตรีกรุงเทพมหานคร หน่วยงานในสังกัด สำนักคุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการร่วมกับสำนักงานเขตพระนครได้ดำเนินการสำรวจคนเร่ร่อนไร้บ้าน บริเวณสนามหลวงและใกล้เคียง ในปี พ.ศ.2551 สำรวจพบคนเร่ร่อน ไร้บ้าน จำนวน 652 คน เป็นเพศชาย 468 คน คิดเป็นร้อยละ 71.78 เพศหญิง 184 คน คิดเป็นร้อยละ 28.22 ทั้งยังได้จัดทำโครงการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนเร่ร่อนเพื่อป้องกันการถูกล่อลวง ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานเชิงรุก โดยในปี พ.ศ.2551 ได้ดำเนินการใน 3 กิจกรรมหลักได้แก่ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและสิทธิโอกาสในการดำเนินชีวิตให้กับคนเร่ร่อนและกลุ่มเสี่ยงจำนวน 2,765 คน จัดอบรมอาชีพตามความต้องการและความเหมาะสม สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 750 คน เตรียมความพร้อมและคืนผู้รับบริการในสถานสงเคราะห์กลับสู่ครอบครัว และชุมชน จำนวน 210 คน จัดหาครอบครัวอุปถัมท์ จำนวน 22 คน ดำเนินโครงการจับเขาคุยกันโดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คนเร่ร่อนบริเวณสนามหลวง จำนวน 300 คน และโครงการสำรวจและจัดบริการพื้นฐานสำหรับคนเร่ร่อนที่ศูนย์คนไร้บ้าน บ้านมิตรไมตรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 371 คน
ที่มา: รายงานผลการสำรวจข้อมูลคนเร่ร่อนทั่วประเทศ ปี 2551 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment